ที่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินทร วันนี้(24 ม.ค.) นายนพดล ปัทมะ อดีต
รมว.กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวต่อผู้เข้าร่วมสัมมนา มรดกโลกกับอาเซียน
ในการสัมมนาทางวิชาการ”อาเซียนศึกษา” โดยนายนพดลกล่าวว่า
ทางการกัมพูชายื่นขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกปราสาทพระวิหารพร้อมกับพื้นที่โดยรอบ
ซึ่งเปรียบประสาทพระวิหารเหมือนศาลพระภูมิ และพื้นที่โดยรอบ
ที่เปรียบเหมือนสนามหญ้า รัฐบาลไทยในช่วงคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
(คมช.)ได้โต้แย้ง
คณะกรรมการมรดกโลกจึงมีหลักการให้ขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาท
ไม่รวมพื้นที่ทับซ้อน ต่อมา ถึงช่วงรัฐบาลที่นายสมัคร สุนทรเวช
เป็นนายกรัฐมนตรี และตนดำรงตำแหน่ง รมว.กระทรวงการต่างประเทศ
ก็ต้องรักษาตามอาการ ไม่ให้กัมพูชารวมพื้นที่ทับซ้อนในการขอเป็นมรดกโลก
ต้องรักษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และทำตามกฎหมาย
จึงพยายามเจรจากับทางกัมพูชาว่า
ปราสาทเป็นของกัมพูชาแต่สนามหญ้าให้ตัดออกมา ทางการกัมพูชาจึงยอม
เอาพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร จากแผนที่
และมีแถลงการณ์ร่วมที่แสดงการยอมรับว่า
สนามหญ้าหรือพื้นที่ทับซ้อนไม่ใช่ของกัมพูชาฝ่ายเดียว
ซึ่งเป็นการตัดพื้นที่ทับซ้อนออกเป็นครั้งแรก
ยอมขึ้นทะเบียนปราสาทเป็นเพียงอย่างเดียว แต่ตนถูกหาว่าขายชาติ โดยนายนพดล
กล่าวว่า หากได้กลับเข้ามาก็ทำอีก คือไม่ให้ขึ้นทะเบียนสนามหญ้า
ปราสาทขึ้นได้
นายนพดลกล่าวอีกว่า สิ่งที่พูดถึงการตรวจสอบเอกสารการขอขึ้นทะเบียนมรดกโลก วันที่ 7 กรกฎาคม 2551 ได้ว่า ให้ขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาท แสดงว่าได้ปกป้องดินแดนแล้ว แต่ศาลปกครอง มีคำตัดสินว่าแถลงการณ์ร่วมดังกล่าว เป็นโมฆะ
นายนพดล ยังท้าวความว่า ข้อเท็จจริงที่เป็นความจริง ก็คือ ศาลโลกได้เคยตัดสินว่า ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา ตั้งแต่ พ.ศ.2505 แต่ไม่ได้บอกว่า ที่ดินเป็นของใคร ภายหลังการตัดสิน ประเทศไทยได้ขีดเส้นรอบปราสาทและส่งมอบปราสาทให้กัมพูชา เท่ากับว่า ปราสาทเป็นของกัมพูชาตั้งแต่ปี 2505 นอกจากนั้นในการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ปี 2541ในพื้นที่บริเวณดังกล่าว ก็ไม่รวมปราสาท โดยทุกฝ่ายยอมรับว่าปราสาทเป็นของกัมพูชามาตลอด..
นายนพดลกล่าวอีกว่า สิ่งที่พูดถึงการตรวจสอบเอกสารการขอขึ้นทะเบียนมรดกโลก วันที่ 7 กรกฎาคม 2551 ได้ว่า ให้ขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาท แสดงว่าได้ปกป้องดินแดนแล้ว แต่ศาลปกครอง มีคำตัดสินว่าแถลงการณ์ร่วมดังกล่าว เป็นโมฆะ
นายนพดล ยังท้าวความว่า ข้อเท็จจริงที่เป็นความจริง ก็คือ ศาลโลกได้เคยตัดสินว่า ปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา ตั้งแต่ พ.ศ.2505 แต่ไม่ได้บอกว่า ที่ดินเป็นของใคร ภายหลังการตัดสิน ประเทศไทยได้ขีดเส้นรอบปราสาทและส่งมอบปราสาทให้กัมพูชา เท่ากับว่า ปราสาทเป็นของกัมพูชาตั้งแต่ปี 2505 นอกจากนั้นในการประกาศเขตอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ปี 2541ในพื้นที่บริเวณดังกล่าว ก็ไม่รวมปราสาท โดยทุกฝ่ายยอมรับว่าปราสาทเป็นของกัมพูชามาตลอด..
0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น