วันพฤหัสบดีที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2556

"อุกฤษ" เสนอศาลปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาการเมือง


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (24 ม.ค.) นายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธานคณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ(คอ.นธ.) ได้จัดทำข้อเสนอไปยังหน่วยงานและองค์กรของรัฐเพื่อให้สังคมไทยกลับสู่ความ สงบเรียบร้อย มีความสามัคคี ให้ประเทศมีความมั่นคงและเข้มแข็งอย่างยั่งยืน โดย 1. ศาลยุติธรรม ถือเป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน จึงควรพิจารณาและทบทวนแนวทางในการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวกับการปล่อยตัว ชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญา โดยเฉพาะการใช้ดุลยพินิจเพื่อปล่อยปล่อยตัวชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดในทางการเมือง ควรใช้กรอบของหลักของเมตตาธรรม  และ2.การที่ประชาชนได้กระทำผิดในการชุมนุมทางการเมือง หรือแสดงออกทางการเมือง ตั้งแต่ 19 ก.ย. 2549-10 พ.ค. 2554 ล้วนแต่เป็นผู้ที่มีความสุจริตทางการเมือง และแสดงออกตามสิทธิในฐานะประชาชน รวมทั้งเป็นการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย หรือการเลือกตั้งส.ส.ตามวิถีทางระบอบประชาธิปไตย ดังนั้นจึงเป็นความรับผิดชอบของ ส.ส.และส.ว. ที่จะต้องดำเนินการตรากฎหมายนิรโทษกรรม เพื่อสร้างความสามัคคีและความสมานฉันท์ของคนในชาติ และเพื่อเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นโดยเร็ว ทั้งนี้ขอบเขตการนิรโทษกรรมต้องไม่รวมถึงผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ หรือสั่งการให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมือง ในห้วงเวลาดังกล่าว และไม่รวมถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจตามกฎหมาย ในการรักษาความสงบ หรือยุติเหตุการณ์
สำหรับร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)นิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่อง ในการชุมนุมทางการเมืองของประชาชน ฯ มีทั้งหมด 6 มาตรา โดยมีสาระสำคัญที่ มาตรา 3 "ระบุว่าให้การทำใดๆของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมืองหรือการ แสดงออกทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการฝ่าฝืนที่ห้ามการชุมนุม การกล่าววาจา หรือโฆษณาด้วยวิธีการใด เพื่อเรียกร้องหรือให้มีการต่อต้านรัฐ การต่อสู้ขัดขืนการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือการประท้วงด้วยวิธีการ ใดๆ อันเป็นการกระทบต่อร่างกายหรือทรัพย์สินของบุคคลอื่น ซึ่งเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องจากการชุมนุม หรือการแสดงออกทางการเมือง ตั้งแต่วันที่ 19 ก.ย. 2549 – 10 พ.ค. 2554 ไม่เป็นความผิดต่อไป และให้ผู้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดและความรับผิดโดยสิ้น เชิง  การกระทำในวรรคหนึ่งไม่รวมถึงการกระทำใดๆ ของบรรดาผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจหรือสั่งการให้มีการเคลื่อนไหวทางการ เมืองในห้วงเวลาดังกล่าว และไม่รวมถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจตามกฎหมายในการ รักษาความสงบหรือยุติเหตุการณ์นั้น "
ด้านนายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 กล่าวว่า การเสนอร่างกฎหมายต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญกำหนด โดยต้องให้ประชาชนเข้าชื่อ 15,000 คนเพื่อเสนอกฎหมาย หรือให้รัฐบาล หรือให้ส.ส.และส.ว. เข้าชื่อเสนอ ซึ่งของนายอุกฤษ เป็นส่วนภาคประชาชน ก็สามารถเสนอได้ เมื่อถามว่าช่วงเวลานี้เหมาะสมที่จะพูดถึงการนิรโทษกรรมหรือไม่ นายเจริญ กล่าวว่าหากสังคมร่วมพิจารณาว่าเป็นทางออกและแนวทางที่จะไปสู่การพัฒนา ประเทศ ถือว่ามีความเหมาะสม แต่ขณะนี้ภาคส่วนต่างๆ ในสังคมยังวิตกกังวลว่าการเสนอกฎหมายนิรโทษกรรมจะทำเพื่อประโยชน์ของบุคคล กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือไม่ ดังนั้นต้องพิจารณาดูหลักการเหตุผลมากกว่าใช้ความรู้สึก แต่หากสังคมยังแบ่งฝ่ายเรื่องนี้ก็จะสำเร็จได้
ขณะที่นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 กล่าวว่า การเสนอร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรมดังกล่าว มี ประเด็นที่ต้องพิจารณา คือ 1.การกำหนดช่วงเวลา ต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมทุกกลุ่มทุกสี ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และ 2. บุคคลที่จะได้รับสิทธิ์นิรโทษกรรม จะรวมถึงแกนนำผู้ชักชวน ยุยง ปลุกปั่นด้วยหรือไม่  ซึ่งประเด็นดังกล่าวต้องพิจารณาให้รอบคอบ ชัดเจนเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาหรือตีความภายหลัง  สำหรับห้วงเวลาที่เหมาะแก่การพิจารณา ช่วงนี้ก็สามารถพูดคุยกันได้ หากไม่มีนัยยะแอบแฝง..

0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

Blog Archive

Design Downloaded from ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ รามคำแหง บางกะปิ | Free Textures | Web Design Resources