วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

จุฬาลงนามร่วมมือกับเซิร์นศึกษาวิจัยนิวเคลียร์


วันนี้(14 ก.ค.) ที่ตึกจามจุรี 4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  จุฬาฯ ร่วมกับเซิร์น จัดงานแถลงข่าวลงนามบันทึกข้อตกลงความ(The European Oraganization for Nuclear Research - CERN) ภายหลังจากได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว ที่วังสระปทุม

ศาสตราจารย์ ดร.ไพรัช  ธัชยพงษ์ ประธานคณะอนุกรรมการโครงการความร่วมมือด้านวิชาการและวิจัยกับเซิร์น เปิดเผยว่า ด้วยพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงมีต่อวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย ในโอกาสที่ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนเซิร์น (The European Organization for Nuclear Research: CERN) ณ สมาพันธรัฐสวิสถึง 4  ครั้ง ได้ทรงมีพระราชดำริตลอดจนสนับสนุนให้นักวิจัยไทยได้มีโอกาสเข้าร่วมทำงาน วิจัยในโครงการของ  CERN   รวมไปถึงการส่งนักศึกษา และครูฟิสิกส์จากประเทศไทยไปร่วมโครงการภาคฤดูร้อนที่CERN , เชื่อมโยง Grid Computing ของไทยเข้ากับCERN ตลอดจนจัดกิจกรรม CERN School Thailand  โดยมีหน่วยงานหลายแห่งร่วมกันทำงานสนองแนวพระราชดำริ เช่น สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน(องค์การ มหาชน) สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่งรวมึงาคเอกชน  ทำให้นักวิชาการ/นักวิจัยไทย ได้มีโอกาสร่วมกิจกรรมความรู้ทางด้านวิชาการกับ CERN มาโดยตลอด  ซึ่งการที่จุฬาลงกณมหาวิทยาลัยได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงในการทำงานร่วมกัน ระหว่างนักวิจัยจากเซิร์นและนักวิจัยในประเทศไทยในครั้งนี้จะเป็นการส่ง เสริมและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ด้านงานวิจัยทาง ฟิสิกส์ของเซิร์นตลอดจนพัฒนาศักยภาพของบุคลากรของไทยให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

ด้านศาสตราจารย์ นายแพทย์ ภิรมย์  กมลรัตนกุล  อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มีความร่วมมือกับกลุ่มการทดลอง CMS ของ CERNอย่างไม่เป็นทางการมาตลอด 10 ปี และเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. จุฬาฯ ได้เป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการของกลุ่มการทดลอง CMS  และได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและ CMS อย่างเป็นทางการในวันนี้

ทั้งนี้การเข้าเป็นสมาชิกของ CMS ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในภูมิภาคอาเซียนที่มีความร่วมมือกับ CERN โดยตรงและเป็นการยกระดับความร่วมมือในงานวิจัยด้านฟิสิกส์อนุภาคของประเทศ ไทยกับ CMS ในเชิงวิชาการให้แน่นแฟ้นมากขึ้น เปิดโอกาสให้นักวิจัยไทยสามารถเข้าถึงข้อมูลการทดลองของ CMS วิเคราะห์ข้อมูลผลการทดลองเพื่อเสาะหาฟิสิกส์ใหม่ ๆ ที่พลังงานระดับเทระอิเล็กตรอนโวลต์ ซึ่งจะทำให้นักวิจัยจากประเทศไทยได้เป็นส่วนหนึ่งของการค้นพบใหม่ ๆ ที่สำคัญ

ศ.ดร. โจ  อินแคนเดลา (Prof. Dr. Joe Incandela, CMS Spokesperson) กล่าวว่า ขอแสดงความยินดีและขอต้อนรับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเข้าเป็นสมาชิกของ CMS สถานีทดลองประจำเครื่องเร่งอนุภาค แอลเอชซี อย่างเป็นทางการ ขณะนี้นับเป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่งสำหรับ CMS และฟิสิกส์อนุภาคโดยรวมจากแถลงการณ์การค้นพบอนุภาคโบซอนตัวใหม่ในสัปดาห์ที่ ผ่านมา CMS มีความยินดีที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะร่วมเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือนี้ และเชื่อว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อประเทศไทยและ CMS และหวังว่าความร่วมมือในครั้งนี้จะชักนำให้มหาวิทยาลัยอื่น ๆ ในประเทศไทยเข้าร่วมในการทดลองในอนาคต เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับประชาคมด้านฟิสิกส์อนุภาคของไทย.

0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

Blog Archive

Design Downloaded from ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ รามคำแหง บางกะปิ | Free Textures | Web Design Resources