วันนี้ (28 ธ.ค.)
ผู้สื่อข่าวประจำรัฐสภาได้ตั้งฉายาให้กับสมาชิกฝ่ายนิติบัญญัติที่ปฏิบัติ
หน้าที่ในรอบปี 2555 ที่ผ่านมาโดย 1. เหตุการณ์แห่งปี :
“พิจารณาร่างพ.ร.บ.ปรองดอง”
ถือเป็นหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยที่เกิดเหตุการณ์ความวุ่นวายในสภาผู้
แทนราษฎรอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน
จากการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ ซึ่งเสนอโดยพล.อ.สนธิ
บุญรัตกลิน หัวหน้าพรรคมาตุภูมิ และส.ส.พรรคเพื่อไทย
สาระสำคัญเพื่อล้มล้างผลพวงจากการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 ก.ย.2549
แต่ถูกพรรคประชาธิปัตย์คัดค้านในระหว่างการประชุมสภาฯวันที่ 30-31 พ.ค.2555
ถึงขั้นขว้างปาแฟ้มเอกสาร สิ่งของ
กระทั่งเข้าไปฉุดกระชากลากตัวประธานสภาฯลงจากบัลลังก์
เพื่อยับยั้งการพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าว
สร้างความเสื่อมเสียให้กับรัฐสภาอย่างมาก และเป็นข่าวออกไปทั่วโลก 2.
วาทะแห่งปี :“เต็มใจ...เป็นขี้ข้า” เป็นคำพูดของร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง
รองนายกรัฐมนตรี ที่ตอบโต้กับนายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตรัง
พรรคประชิปัตย์ ระหว่างการอภิปรายไม่ไว้วางใจเมื่อวันที่ 25 พ.ย.2555
ที่ถูกพาดพิงว่าการละเว้นเพิกเฉยต่อการถอดยศพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
อดีตนายกรัฐมนตรีว่า “ผมเป็นขี้ข้า แต่เสียใจหน่อยคุณสาทิตย์รู้ช้า
ก็เป็นมานานแล้ว แต่ผมไม่เห็นเสียหายเลย ผมเต็มใจ"
3. ฉายา สภาผู้แทนราษฎร : “จองล้าง..... จ้องผลาญ .....” ภาพรวมการทำงานของสภาฯ พบว่าทั้งพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ที่ถือเป็นคู่แค้นทางการเมืองต่าง เสนอญัตติหรือยื่นเรื่องให้คณะกรรมาธิการ ที่เป็นพรรคพวกเดียวกันตรวจสอบฝ่ายตรงข้าม รวมถึงตั้งกระทู้ถามสด เพื่อโยงไปหาข้อผิดพลาด ข้อบกพร่องของอีกฝ่าย ซึ่งไม่ต่างกับการจ้องจะล้างแค้นซึ่งกันและกัน ขณะที่ “จ้องผลาญ”งบประมาณแผ่นดิน การพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ ปี 55 และปี56 ที่ ส.ส.จ้องจัดสรรงบฯให้พวกตัวเอง และการจัดทริปดูงานต่างประเทศของคณะกรรมาธิการชุดต่างๆเป็นการไปท่องเที่ยว พักผ่อน มากกว่าที่จะไปดูงานเพื่อประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง 4. ฉายาวุฒิสภา : “ตะแกรง...เลือกร่อน” ภาพรวมการทำหน้าที่ของวุฒิสภายังคงมีการแบ่งแยกกันอย่างชัดเจน การทำงานไม่ได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะกลุ่ม 40 ส.ว.แม้บางครั้งจะทำงานมุ่งเน้นการตรวจสอบ แต่ก็ยังเป็นที่คลางแคลงใจว่ามีวาระซ่อนเร้นต่อฝ่ายการเมืองหรือไม่ เห็นได้จากการพฤติกรรมที่พุ่งเป้าไปยังรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นการยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณี พ.ร.ก.กู้เงินเพื่อฟื้นฟูน้ำท่วมปี 2554 การแก้ไขรัฐธรรมนูญ และโครงการรับจำนำข้าว ขณะที่ส.ว.อีกกลุ่มก็พยายามออกแรงช่วยรัฐบาลอย่างเต็มที่ ถึงขนาดต้องแยกยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 171 เป็น 2 ญัตติ ทั้งที่เป็นเรื่องทำนองเดียวกัน สะท้อนให้เห็นถึงความไม่เป็นเอกภาพ ไม่เป็นหนึ่งเดียว จึงเปรียบเหมือนกับ “ตระแกรง”ที่เลือกร่อน เฉพาะสิ่งที่ตัวเองต้องการ ต่างฝ่ายต่างทำหน้าที่
5.ฉายาประธานสภาผู้แทนราษฎร - สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ : “ค้อนน้อย..หมวกแดง” เมื่อปี2554 ได้รับฉายา “ค้อนปลอม ตราดูไบ” แต่ไม่สามารถแสดงผลงานให้เห็นว่าเป็นขุนค้อนที่น่าเกรงขามได้เหมือนอดีต กลับกันมีข้อครหาเรื่องความเป็นกลางหลายครั้งเกี่ยวกับการวินิจฉัยข้อขัด แย้งในสภาฯ ผนวกกับมีกรณีคลิปเสียงที่พาดพิงว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มีส่วนเกี่ยวข้องกับร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองฯและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จึงกลายเป็นขุนค้อนที่ขาดความศักดิ์สิทธิ์ แต่เป็นแค่ค้อนน้อยที่สวมหมวกแดง แทนการสวมหมวกของประมุขในฝ่ายนิติบัญญัติ 6. ฉายาประธานวุฒิสภา - นิคม ไวยรัชพานิช :“ผลัด...ไม้สุดท้าย” นับว่าได้ตำแหน่งประธานวุฒิสภามาอย่างเหลือเชื่อ เนื่องจากนิคม เคยทำใจแล้วว่าคงไม่สามารถก้าวถึงตำแหน่งสูงสุดในสภาสูงได้ในวาระที่เหลือ อีกประมาณ 2 ปี แต่เมื่อพล.อ.ธีรเดช มีเพียร มีอันต้องตกจากเก้าอี้ประธานวุฒิสภาในคดีเก่าการออกระเบียบขึ้นเงินเดือนฯ ให้ตัวเอง ทำให้นายนิคมซึ่งนั่งรองประธานวุฒิสภามาเกือบ 4 ปี ขอท้าชิงเก้าอี้อีกครั้ง โดยฝ่าย ส.ว.สรรหา เฟ้นหาตัวที่พอจะต่อกรด้วยไม่ทัน จึงสามารถเอาชนะคู่แข่งไปได้ขาดลอย วุฒิสภาจึงเกิดการผลัดขั้วการเมืองครั้งใหญ่จากสายสรรหามาเป็นสายเลือก ตั้ง
7. ฉายาผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ : “หล่อ รับ เละ” บทบาทการทำหน้าที่ของ นายอภิสิทธิ์ ในรอบปีที่ผ่านมาไม่ได้โดดเด่นเท่าที่ควร อาจเพราะตกอยู่ในสภาพต้องคดีทางการเมือง อาทิ คดี 91 ศพจากการชุมนุมทางการเมือง โดยกรมสอบสวนคดีพิเศษสั่งฟ้อง และถูกคำสั่งรมว.กลาโหมถอดยศว่าที่ร้อยตรี รวมทั้งปัญหาภายในพรรครุมเร้า ทุกปัญหาต่างพุ่งเป้ามาที่ตัวนายอภิสิทธิ์ ขณะที่บทบาทการนำลูกพรรคในการทำหน้าที่ในสภาฯแม้ลูกพรรคจะสร้างภาพลักษณ์ให้ รัฐสภาเสื่อมเสีย ก็ยังออกมาสนับสนุน รวมถึงช่วงเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ยังมอบบทบาทการนำให้นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานวิปฝ่ายค้านแทนทั้งหมด จึงเปรียบเหมือนนายอภิสิทธิ์ที่มีหน้าตาดูว่าหล่อ แต่ถูกมรสุมการเมืองรุมถล่มจนเละ 8. ดาวเด่น : “วิสุทธิ์ ไชยณรุณ ส.ส.พะเยา พรรคเพื่อไทย ฐานะรองประธานสภาฯคนที่ 2” ถือเป็นประธานในการควบคุมการประชุมสภาฯที่ได้รับความชื่นชมถึงความเป็นกลาง โดยเฉพาะจากพรรคฝ่ายค้าน ทำให้บรรยากาศการประชุมผ่อนคลาย เพราะท่าทีที่ผ่อนหนักผ่อนเบา แม้แต่ ส.ส.พรรคเพื่อไทยจากพรรคเดียวกันหากแสดงกิริยาไม่เหมาะสมก็ไม่ยกเว้นได้ ตำหนิ ตักเตือนเช่นกัน โดยส.ส.ในที่ประชุมมีความเกรงใจและให้ความร่วมมือ
9.ดาวดับ : “จ.ส.ต.ประสิทธิ์ ไชยศรีษะ ส.ส.สุรินทร์ พรรคเพื่อไทย - นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ - น.ส.รังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสงคราม พรรคประชาธิปัตย์” การทำหน้าที่ของ ส.ส. ควรจะมีทั้งคุณวุฒิและวัยวุฒิ และสภาควรเป็นเวทีแก้ปัญหาความขัดแย้งของประเทศ แต่ ส.ส.ผู้ทรงเกียรติเหล่านี้ ได้แสดงพฤติกรรมกลางที่ประชุมสภาฯ ให้เห็นถึงความหยาบคาย ทั้งทางวาจาและพฤติกรรมที่แสดงออกมา อาทิ การกล่าว ผรุสวาท รวมไปถึงการแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว ถ่อย เถื่อน รวมถึงการขว้างปาสิ่งของ และลากเก้าอี้ประธานสภาฯ ทำให้ภาพพจน์ของสภาฯเสื่อมเสียอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ซึ่งนักข่าวรัฐสภาต้องการสะท้อนมุมมองให้เห็นว่าพฤติกรรม ลักษณะเช่นนี้ไม่เป็นที่พึ่งหวังของประชาชนได้ 10. คู่กัดแห่งปี : “นายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ vs ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง” ในอดีตทั้งคู่เคยมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน แต่การแสดงออกในสภาในรอบปีที่ผ่านมา ได้กลายเป็นฝ่ายตรงข้ามกัน โดยนายชูวิทย์ได้ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล โดยเฉพาะเรื่องในความรับผิดชอบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่มีร.ต.อ.เฉลิมคอยกำกับดูแลอยู่ ได้มีการนำคลิปภาพมาแฉในห้องประชุมสภาฯหลายครั้ง ทั้งการเปิดบ่อนการพนัน แหล่งอบายมุขที่ผิดกฎหมาย ทำให้ทั้งคู่เกิดการโต้เถียงกันกลางสภาฯอย่างดุเดือดหลายครั้ง จึงได้รับฉายาคู่กัดแห่งปี
11. คนดีศรีสภา: งดการเสนอชื่อบุคคล ในปีนี้สื่อมวลชนประจำรัฐสภามีความเห็นร่วมกันว่า ยังไม่มีบุคคลที่เหมาะสมที่จะได้รับตำแหน่งดังกล่าว ถึงแม้จะมี ส.ส. ส.ว.หลายคนแสดงบทบาทการเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย นำเสนอปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนสะท้อนผ่านเวทีรัฐสภา แต่เป็นหน้าที่โดยตรงของผู้ที่เป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย ซึ่งนิยามคำว่าคนดีศรีสภา ควรเป็นการแสดงบทบาทของคนดีให้เป็นที่ประจักษ์อย่างเห็นได้ชัดเจน จึงของดการมอบตำแหน่งคนศรีสภาประจำปี2555..
3. ฉายา สภาผู้แทนราษฎร : “จองล้าง..... จ้องผลาญ .....” ภาพรวมการทำงานของสภาฯ พบว่าทั้งพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ที่ถือเป็นคู่แค้นทางการเมืองต่าง เสนอญัตติหรือยื่นเรื่องให้คณะกรรมาธิการ ที่เป็นพรรคพวกเดียวกันตรวจสอบฝ่ายตรงข้าม รวมถึงตั้งกระทู้ถามสด เพื่อโยงไปหาข้อผิดพลาด ข้อบกพร่องของอีกฝ่าย ซึ่งไม่ต่างกับการจ้องจะล้างแค้นซึ่งกันและกัน ขณะที่ “จ้องผลาญ”งบประมาณแผ่นดิน การพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ ปี 55 และปี56 ที่ ส.ส.จ้องจัดสรรงบฯให้พวกตัวเอง และการจัดทริปดูงานต่างประเทศของคณะกรรมาธิการชุดต่างๆเป็นการไปท่องเที่ยว พักผ่อน มากกว่าที่จะไปดูงานเพื่อประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง 4. ฉายาวุฒิสภา : “ตะแกรง...เลือกร่อน” ภาพรวมการทำหน้าที่ของวุฒิสภายังคงมีการแบ่งแยกกันอย่างชัดเจน การทำงานไม่ได้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะกลุ่ม 40 ส.ว.แม้บางครั้งจะทำงานมุ่งเน้นการตรวจสอบ แต่ก็ยังเป็นที่คลางแคลงใจว่ามีวาระซ่อนเร้นต่อฝ่ายการเมืองหรือไม่ เห็นได้จากการพฤติกรรมที่พุ่งเป้าไปยังรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นการยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณี พ.ร.ก.กู้เงินเพื่อฟื้นฟูน้ำท่วมปี 2554 การแก้ไขรัฐธรรมนูญ และโครงการรับจำนำข้าว ขณะที่ส.ว.อีกกลุ่มก็พยายามออกแรงช่วยรัฐบาลอย่างเต็มที่ ถึงขนาดต้องแยกยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 171 เป็น 2 ญัตติ ทั้งที่เป็นเรื่องทำนองเดียวกัน สะท้อนให้เห็นถึงความไม่เป็นเอกภาพ ไม่เป็นหนึ่งเดียว จึงเปรียบเหมือนกับ “ตระแกรง”ที่เลือกร่อน เฉพาะสิ่งที่ตัวเองต้องการ ต่างฝ่ายต่างทำหน้าที่
5.ฉายาประธานสภาผู้แทนราษฎร - สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ : “ค้อนน้อย..หมวกแดง” เมื่อปี2554 ได้รับฉายา “ค้อนปลอม ตราดูไบ” แต่ไม่สามารถแสดงผลงานให้เห็นว่าเป็นขุนค้อนที่น่าเกรงขามได้เหมือนอดีต กลับกันมีข้อครหาเรื่องความเป็นกลางหลายครั้งเกี่ยวกับการวินิจฉัยข้อขัด แย้งในสภาฯ ผนวกกับมีกรณีคลิปเสียงที่พาดพิงว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มีส่วนเกี่ยวข้องกับร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองฯและการแก้ไขรัฐธรรมนูญ จึงกลายเป็นขุนค้อนที่ขาดความศักดิ์สิทธิ์ แต่เป็นแค่ค้อนน้อยที่สวมหมวกแดง แทนการสวมหมวกของประมุขในฝ่ายนิติบัญญัติ 6. ฉายาประธานวุฒิสภา - นิคม ไวยรัชพานิช :“ผลัด...ไม้สุดท้าย” นับว่าได้ตำแหน่งประธานวุฒิสภามาอย่างเหลือเชื่อ เนื่องจากนิคม เคยทำใจแล้วว่าคงไม่สามารถก้าวถึงตำแหน่งสูงสุดในสภาสูงได้ในวาระที่เหลือ อีกประมาณ 2 ปี แต่เมื่อพล.อ.ธีรเดช มีเพียร มีอันต้องตกจากเก้าอี้ประธานวุฒิสภาในคดีเก่าการออกระเบียบขึ้นเงินเดือนฯ ให้ตัวเอง ทำให้นายนิคมซึ่งนั่งรองประธานวุฒิสภามาเกือบ 4 ปี ขอท้าชิงเก้าอี้อีกครั้ง โดยฝ่าย ส.ว.สรรหา เฟ้นหาตัวที่พอจะต่อกรด้วยไม่ทัน จึงสามารถเอาชนะคู่แข่งไปได้ขาดลอย วุฒิสภาจึงเกิดการผลัดขั้วการเมืองครั้งใหญ่จากสายสรรหามาเป็นสายเลือก ตั้ง
7. ฉายาผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ : “หล่อ รับ เละ” บทบาทการทำหน้าที่ของ นายอภิสิทธิ์ ในรอบปีที่ผ่านมาไม่ได้โดดเด่นเท่าที่ควร อาจเพราะตกอยู่ในสภาพต้องคดีทางการเมือง อาทิ คดี 91 ศพจากการชุมนุมทางการเมือง โดยกรมสอบสวนคดีพิเศษสั่งฟ้อง และถูกคำสั่งรมว.กลาโหมถอดยศว่าที่ร้อยตรี รวมทั้งปัญหาภายในพรรครุมเร้า ทุกปัญหาต่างพุ่งเป้ามาที่ตัวนายอภิสิทธิ์ ขณะที่บทบาทการนำลูกพรรคในการทำหน้าที่ในสภาฯแม้ลูกพรรคจะสร้างภาพลักษณ์ให้ รัฐสภาเสื่อมเสีย ก็ยังออกมาสนับสนุน รวมถึงช่วงเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล ยังมอบบทบาทการนำให้นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานวิปฝ่ายค้านแทนทั้งหมด จึงเปรียบเหมือนนายอภิสิทธิ์ที่มีหน้าตาดูว่าหล่อ แต่ถูกมรสุมการเมืองรุมถล่มจนเละ 8. ดาวเด่น : “วิสุทธิ์ ไชยณรุณ ส.ส.พะเยา พรรคเพื่อไทย ฐานะรองประธานสภาฯคนที่ 2” ถือเป็นประธานในการควบคุมการประชุมสภาฯที่ได้รับความชื่นชมถึงความเป็นกลาง โดยเฉพาะจากพรรคฝ่ายค้าน ทำให้บรรยากาศการประชุมผ่อนคลาย เพราะท่าทีที่ผ่อนหนักผ่อนเบา แม้แต่ ส.ส.พรรคเพื่อไทยจากพรรคเดียวกันหากแสดงกิริยาไม่เหมาะสมก็ไม่ยกเว้นได้ ตำหนิ ตักเตือนเช่นกัน โดยส.ส.ในที่ประชุมมีความเกรงใจและให้ความร่วมมือ
9.ดาวดับ : “จ.ส.ต.ประสิทธิ์ ไชยศรีษะ ส.ส.สุรินทร์ พรรคเพื่อไทย - นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ - น.ส.รังสิมา รอดรัศมี ส.ส.สมุทรสงคราม พรรคประชาธิปัตย์” การทำหน้าที่ของ ส.ส. ควรจะมีทั้งคุณวุฒิและวัยวุฒิ และสภาควรเป็นเวทีแก้ปัญหาความขัดแย้งของประเทศ แต่ ส.ส.ผู้ทรงเกียรติเหล่านี้ ได้แสดงพฤติกรรมกลางที่ประชุมสภาฯ ให้เห็นถึงความหยาบคาย ทั้งทางวาจาและพฤติกรรมที่แสดงออกมา อาทิ การกล่าว ผรุสวาท รวมไปถึงการแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว ถ่อย เถื่อน รวมถึงการขว้างปาสิ่งของ และลากเก้าอี้ประธานสภาฯ ทำให้ภาพพจน์ของสภาฯเสื่อมเสียอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ซึ่งนักข่าวรัฐสภาต้องการสะท้อนมุมมองให้เห็นว่าพฤติกรรม ลักษณะเช่นนี้ไม่เป็นที่พึ่งหวังของประชาชนได้ 10. คู่กัดแห่งปี : “นายชูวิทย์ กมลวิศิษฏ์ vs ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง” ในอดีตทั้งคู่เคยมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน แต่การแสดงออกในสภาในรอบปีที่ผ่านมา ได้กลายเป็นฝ่ายตรงข้ามกัน โดยนายชูวิทย์ได้ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล โดยเฉพาะเรื่องในความรับผิดชอบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่มีร.ต.อ.เฉลิมคอยกำกับดูแลอยู่ ได้มีการนำคลิปภาพมาแฉในห้องประชุมสภาฯหลายครั้ง ทั้งการเปิดบ่อนการพนัน แหล่งอบายมุขที่ผิดกฎหมาย ทำให้ทั้งคู่เกิดการโต้เถียงกันกลางสภาฯอย่างดุเดือดหลายครั้ง จึงได้รับฉายาคู่กัดแห่งปี
11. คนดีศรีสภา: งดการเสนอชื่อบุคคล ในปีนี้สื่อมวลชนประจำรัฐสภามีความเห็นร่วมกันว่า ยังไม่มีบุคคลที่เหมาะสมที่จะได้รับตำแหน่งดังกล่าว ถึงแม้จะมี ส.ส. ส.ว.หลายคนแสดงบทบาทการเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย นำเสนอปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนสะท้อนผ่านเวทีรัฐสภา แต่เป็นหน้าที่โดยตรงของผู้ที่เป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย ซึ่งนิยามคำว่าคนดีศรีสภา ควรเป็นการแสดงบทบาทของคนดีให้เป็นที่ประจักษ์อย่างเห็นได้ชัดเจน จึงของดการมอบตำแหน่งคนศรีสภาประจำปี2555..
0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น