วันนี้
(21 ธ.ค.) นางสดศรี สัตยธรรม
กกต.ด้านกิจการพรรคการเมืองและการออกเสียงประชามติ
กล่าวถึงกรณีที่ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรื
เสนอให้การแก้รัฐธรรมนูญเดินหน้าโดยสภาแก้เป็นรายมาตรา แทนการทำประชามติ
ว่า ตนเห็นด้วยกับร.ต.อ.เฉลิม ที่เสนอแก้โดยสภาเป็นรายมาตรา
เชื่อว่าเป็นการลดความขัดแย้งได้ และที่ผ่านมาในสมัยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
เป็นนายกรัฐมนตรี ก็เคยมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 50 เป็นรายมาตรา อาทิ การเลือกตั้งส.ส.จาก เขตเดียว 3 เปรียนเป็นเขตเดียวเบอร์เดียว แก้เรื่องเปลี่ยนระบบส.ส.บัญชีรายชื่อ และแก้ไขมาตรา 190 โดยเป็นการแก้ไขผ่านสภาไปแล้วไม่มีปัญหาอะไรยุ่งยาก
“
การที่ร.ต.อ.เฉลิม เสนอมานั้นก็เป็นเรื่องที่ดี ที่จะไม่ทำให้เกิดปัญหาใด ๆ
ขึ้นมา และการทำประชามติมีข้อวิตกกังวลหลายเรื่อง เรื่องแรกของคือ
จำนวนคนที่จะมาใช้สิทธิออกเสียงประชามติ
จะเกินกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิออกเสียงหรือไม่
เท่าที่ทราบหลายก็มีความกังวลเรื่องนี้
อีกทั้งเชื่อว่าปัญหาต้องเกิดขึ้นมากมายอย่างแน่นอนเพราะมีคนทั้งคนเห็นด้วย
และไม่เห็นด้วย และนำมาสู่เรื่องร้องเรียนเข้ามากกต.ให้พิจารณาหลายเรื่อง
เช่น การหลอกลวง ชักจูงให้ไปลงคะแนนเสียง หรือคัดค้านไม่ให้ไปออกเสียง
ที่อาจจะผิดพ.ร.บ.การออกเสียงประชามติ ” นางสดศรี กล่าว
เมื่อถามว่า ขณะนี้มีการมองว่า หากเดินหน้าทำประชามติคิดตามสัดส่วนที่กกต.บอกในว่าต้องคิด2 คะแนนผู้มาออกเสียง 2 ชั้นนั้น อาจจะขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 165 (2) ตามที่หลายฝ่ายตั้งข้อสงสัยไว้ นางสดศรี กล่าวว่า ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 165 ก็ได้มีมาตรา 9 ของ พ.ร.บ.ประชามติ รองรับไว้แล้ว ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญก็ได้พิจารณาไว้ในคำวินิจฉัยที่ 17 / 2552 ว่า เนื้อหาของพ.ร.บ.ประกอบพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ.2552 ทั้ง 45
มาตราที่สภาส่งมาให้พิจารณานั้นมีความสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญไม่ขัดหรือแย้ง
แต่ถ้าหากใครที่ยังสงสัยก็สามรถส่งไปยังศาลรัฐธรรมนูญให้พิจารณาวินิจฉัยอีก
ได้
ถ้าทางศาลรัฐธรรมนูญก็รับเรื่องดังกล่าวก็จะทำให้การทำประชามติชัดเจนยิ่ง
ขึ้น แล้วไม่เกิดปัญหาใด ๆ ขึ้นมาผู้จะชี้ได้ก็คือศาลรัฐธรรมนูญ
0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น