วันนี้ (20 ธ.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง
รองนายกรัฐมนตรี
ให้สัมภาษณ์ถึงการประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 291 ว่า
“ไม่เอา ไม่พูดหรอก พูดมาแล้ว 3 วัน ไว้ไปหารือกันในพรรค”
ทั้งนี้ในการประชุมพรรคเพื่อไทย ตนต้องถูกสอบถามเรื่องนี้อย่างแน่นอน
จึงต้องเตรียมตัวอธิบาย
โดยจะจัดทำร่างความคิดเห็นเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 9 ข้อ
ซึ่งตนได้เชิญนายอัชพร จารุจินดา เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา
มาร่วมร่างในบ่ายวันนี้ แล้วตนจะนำไปพูดคุยในการประชุมพรรคเพื่อไทย
แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ เพราะถ้าตนพูดมาก ก็จะถูกว่ากล่าวได้
อย่างไรก็ตาม ตนคิดว่าอะไรที่ทำสำเร็จก็ควรทำ ถ้ารู้ว่าทำแล้วไม่สำเร็จ
ก็จะเกิดปัญหา ทำให้เสียเวลาการทำงานเปล่าๆ ทั้งนี้
มีคนมาสนับสนุนแนวคิดของตน อาทิ นายจตุพร พรหมพันธ์ แกนนำกลุ่มนปช.
ได้โทรศัพท์มาสนับสนุนตน
แต่ยังไม่ได้พูดคุยกันในรายละเอียดว่าจะมาเข้าพบตนเมื่อใด
รองนายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า จำนวนผู้มีสิทธิ์ออกเสียงทั้งประเทศ 45 ล้านคน แล้วจะไปเสียงที่ไหน ส่วนประเด็นเรื่องต้องได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งนั้น มีการเข้าใจผิดและอ่านกฎหมายไม่ครบ เพราะคนไปรีบพูดและดูรัฐธรรมนูญ มาตรา 165 แล้วไปดูพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ มาตรา 9 แค่วรรคหลังที่ระบุว่าเมื่อผู้มีสิทธิ์มาออกเสียงเกินกึ่งหนึ่งแล้ว ต้องได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ์ฯ แต่ไม่ได้ดูวรรคแรกที่ระบุว่าต้องได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ์ฯทั้ง ประเทศ คือประมาณ 24 ล้านกว่าคน
ทั้งนี้มี 5 องค์ประกอบที่อาจจะมีคนมาใช้สิทธิ์ฯ ไม่ถึงจำนวนดังกล่าว คือ 1.คนที่ไม่มาใช้สิทธิ์ออกเสียง ก็ไม่ถือว่าเสียสิทธิ์ 2.ไม่มีการกระตุ้นเตือนประชาชน เพราะไม่ใช่การสมัครรับเลือกตั้งส.ส. 3.ไม่มีการลงคะแนนล่วงหน้า ประชาชนจึงไม่ไปใช้สิทธิ์ 4.ไม่สามารถนำไปเปรียบเทียบกับการเลือกตั้งส.ส.ได้ เพราะในการเลือกตั้งส.ส. ประชาชนอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล และ 5.ประชาชนมองว่าเรื่องรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องไกลตัว จึงไม่มีอะไรจูงใจให้ประชาชนมาออกเสียงประชามติ และการพูดให้คนฟังนั้นเป็นเรื่องยาก ดังนั้นการจูงใจให้คนมาลงประชามติถือเป็นเรื่องยาก เพราะในทางการเมือง วันนี้ใครมาปราศรัยก็ต้องขนชาวบ้านมาเอง เพราะมันอยู่ที่จิตใจและความศรัทธา
รองนายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า จำนวนผู้มีสิทธิ์ออกเสียงทั้งประเทศ 45 ล้านคน แล้วจะไปเสียงที่ไหน ส่วนประเด็นเรื่องต้องได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งนั้น มีการเข้าใจผิดและอ่านกฎหมายไม่ครบ เพราะคนไปรีบพูดและดูรัฐธรรมนูญ มาตรา 165 แล้วไปดูพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ มาตรา 9 แค่วรรคหลังที่ระบุว่าเมื่อผู้มีสิทธิ์มาออกเสียงเกินกึ่งหนึ่งแล้ว ต้องได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิ์ฯ แต่ไม่ได้ดูวรรคแรกที่ระบุว่าต้องได้เสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิ์ฯทั้ง ประเทศ คือประมาณ 24 ล้านกว่าคน
ทั้งนี้มี 5 องค์ประกอบที่อาจจะมีคนมาใช้สิทธิ์ฯ ไม่ถึงจำนวนดังกล่าว คือ 1.คนที่ไม่มาใช้สิทธิ์ออกเสียง ก็ไม่ถือว่าเสียสิทธิ์ 2.ไม่มีการกระตุ้นเตือนประชาชน เพราะไม่ใช่การสมัครรับเลือกตั้งส.ส. 3.ไม่มีการลงคะแนนล่วงหน้า ประชาชนจึงไม่ไปใช้สิทธิ์ 4.ไม่สามารถนำไปเปรียบเทียบกับการเลือกตั้งส.ส.ได้ เพราะในการเลือกตั้งส.ส. ประชาชนอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล และ 5.ประชาชนมองว่าเรื่องรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องไกลตัว จึงไม่มีอะไรจูงใจให้ประชาชนมาออกเสียงประชามติ และการพูดให้คนฟังนั้นเป็นเรื่องยาก ดังนั้นการจูงใจให้คนมาลงประชามติถือเป็นเรื่องยาก เพราะในทางการเมือง วันนี้ใครมาปราศรัยก็ต้องขนชาวบ้านมาเอง เพราะมันอยู่ที่จิตใจและความศรัทธา
0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น