วันนี้ (10 ต.ค.)ที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ นายพิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์
หัวหน้าคณะโฆษกศาลรัฐธรรมนูญ แถลงผลการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญว่า
ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย กรณีนายอดิศร์
อิศรางกูร ณ อยุธยา อาจาร์ยนิด้า กับคณะ
ยื่นหนังสือขอให้ศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจตามกฎหมาย
เพื่อยับยั้งหรือยุติโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลอันเป็นการขัดต่อรัฐ
ธรรมนูญ โดยเห็นว่า
ศาลรัฐธรรมนูญจะรับคำร้องใดไว้พิจารณาวินิจฉัยจะต้องมีบทบัญญัติของรัฐ
ธรรมนูญและกฎหมายให้อำนาจไว้
แต่ตามคำร้องนี้เป็นการขอให้ศาลรัฐธรรมนูญยับยั้งหรือยุติโครงการรับจำนำ
ข้าวของรัฐบาล ซึ่งเป็นกรณีที่ไม่อยู่ในอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ
ประกอบกับผู้ร้องยังมิใช่เป็นบุคคล
ซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพอันสืบเนื่องมาจากบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
และมิใช่เป็นการขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ คำร้องนี้จึงไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของรัฐธรรมนูญ
มาตรา 212
เมื่อถามว่า คำร้องนี้ถือว่าตกไปเลยหรือไม่ นายพิมล กล่าวว่า ถือว่าตกไปในส่วนของศาลรัฐธรรมนูญ เพราะกรณีดังกล่าวศาลวินิจฉัยชัดว่าไม่มีอำนาจพิจารณา เพราะตามคำร้องนั้นมาตรา 84 (1) เป็นแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ที่ไม่ได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาวินิจฉัย อีกทั้งผู้ร้องไม่ได้เป็นผู้ทีไม่มีอำนาจในการยื่นตรงต่อศาล ดังนั้นผู้ร้องต้องไปศึกษาว่า แนวนโยบายพื้นฐานของรัฐดังกล่าว อยู่ในอำนาจองค์กรใดพิจารณาที่จะพิจารณา หากกลุ่มนักวิชาการได้ใช้ช่องทางตามรัฐธรรมนูญแล้ว และเห็นว่าต้องส่งเข้ามายังศาลรัฐธรรมนูญให้พิจารณาว่าอีกนั้น ศาลรัฐธรรมนูญก็ต้องพิจารณาอีกครั้งว่า
ต่อมา ที่รัฐสภา ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเรื่องการทุจริตโครงการจำนำข้าวว่า อยู่ในระหว่างดำเนินคดี บางส่วนอยู่ในข่ายขั้นสงสัย และยืนยันว่าการทุจริตเป็นหมื่นล้านบาทนั้นไม่มี ในส่วนที่คณะอาจารย์จากสถาบันบัญฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า)มีการยื่นเรื่อง ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าขัดต่อมาตรา84 ของรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้น เรื่องนี้ตนบอกมาตั้งแต่ต้นแล้วว่าถึงอย่างไรศาลก็ไม่รับฟ้อง เพราะเป็นเรื่องของนโยบาย และถ้าจะไปยื่นศาลปกครองตนก็เชื่อว่าศาลก็ไม่น่าจะรับฟ้อง เพราะจะต้องเป็นเรื่องที่รัฐมีคำสั่งหรือรัฐกระทำ
"การกระทำขออาจารย์นิด้าถือเป็นพวกสุ่มสี่สุ่มหก ไม่มีงานทำ ถ้าอยากลงเล่นการเมืองก็ให้ลาออกจากอาจารย์แล้วมาลงสมัครเลือกตั้ง รัฐบาลไม่ได้มาจากการปฏิวัติแต่มาจากเสียงของประชาชน ผมเชื่อว่ารัฐบาลชุดนี้ล้มยากถ้าไม่มีเรื่องทุจริต 4 ปีบวก 4 ปี และในวันที่ 15 ต.ค. จะมีการเชิญองค์การคลังสินค้า (อคส.) องค์การตลาดเพื่อการเกษตร(อตก.),ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์( ธกส.) และผู้บังคับการตำรวจภูธร จ.สระแก้ว มาประชุมร่วมกัน นอกจากนี้ได้กำชับไปยังพล.ต.อ.พงศพัศ พงศ์เจริญ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปรามปรามยาเสพติด(ป.ป.ส.) ให้ประสานขอความร่วมมือไปยังแม่ทัพภาคที่ 1 เพื่อขอความร่วมมือในการดำเนินการเรื่องนี้ ทั้งนี้ผมได้วางกำลังตำรวจไว้ทุกโรงสี ถ้าพรรคประชาธิปัตย์มีข้อมูลการทุจริตของรัฐบาลทำไมต้องไปรอให้ถึงปลายเดือน ต.ค.ผมเป็นฝ่ายค้านมาถ้ามีจังหวะก็ต้องดำเนินการทันที ทำไมต้องไปรอรัฐบาลแถลงผลงาน” ร.ต.อ.เฉลิมกล่าว
ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวอีกว่า เหตุที่เรื่องนี้เป็นปัญหายุ่งยากเป็นเพราะผู้ค้าส่งออกเสียผลประโยชน์ คนเหล่านั้นเคยร่ำรวยอย่างเพลิดเพลินและเคยกำหนดราคาข้าวเอง แต่ขณะนี้รัฐเป็นผู้กำหนด ถ้าขายได้เกิน 1.5 หมื่นบาทต่อตันก็เชื่อว่ารัฐก็จะได้กำไร ดังนั้นนักการเมืองที่ออกมาคัดค้านในเรื่องนี้ตนเชื่อว่าการเลือกตั้งครั้ง หน้าก็จะได้ที่นั่งลดลง ในส่วนอาจารย์นิด้านั้น เมื่อศาลไม่รับฟ้องเช่นนี้จะเอาอะไรมาคลุมหัว เอาปี๊บหรือไม่ อย่างไรก็ตามตนขอเรียกร้องว่า เรื่องนี้ต้องให้โอกาสรัฐบาลได้มีการดำเนินนโยบายก่อนซึ่งหากไม่ดีการเลือก ตั้งสมัยหน้าก็จะไม่ได้รับการเลือกตั้ง
เมื่อถามว่า คำร้องนี้ถือว่าตกไปเลยหรือไม่ นายพิมล กล่าวว่า ถือว่าตกไปในส่วนของศาลรัฐธรรมนูญ เพราะกรณีดังกล่าวศาลวินิจฉัยชัดว่าไม่มีอำนาจพิจารณา เพราะตามคำร้องนั้นมาตรา 84 (1) เป็นแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ที่ไม่ได้อยู่ในอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาวินิจฉัย อีกทั้งผู้ร้องไม่ได้เป็นผู้ทีไม่มีอำนาจในการยื่นตรงต่อศาล ดังนั้นผู้ร้องต้องไปศึกษาว่า แนวนโยบายพื้นฐานของรัฐดังกล่าว อยู่ในอำนาจองค์กรใดพิจารณาที่จะพิจารณา หากกลุ่มนักวิชาการได้ใช้ช่องทางตามรัฐธรรมนูญแล้ว และเห็นว่าต้องส่งเข้ามายังศาลรัฐธรรมนูญให้พิจารณาว่าอีกนั้น ศาลรัฐธรรมนูญก็ต้องพิจารณาอีกครั้งว่า
ต่อมา ที่รัฐสภา ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเรื่องการทุจริตโครงการจำนำข้าวว่า อยู่ในระหว่างดำเนินคดี บางส่วนอยู่ในข่ายขั้นสงสัย และยืนยันว่าการทุจริตเป็นหมื่นล้านบาทนั้นไม่มี ในส่วนที่คณะอาจารย์จากสถาบันบัญฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า)มีการยื่นเรื่อง ต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่าขัดต่อมาตรา84 ของรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้น เรื่องนี้ตนบอกมาตั้งแต่ต้นแล้วว่าถึงอย่างไรศาลก็ไม่รับฟ้อง เพราะเป็นเรื่องของนโยบาย และถ้าจะไปยื่นศาลปกครองตนก็เชื่อว่าศาลก็ไม่น่าจะรับฟ้อง เพราะจะต้องเป็นเรื่องที่รัฐมีคำสั่งหรือรัฐกระทำ
"การกระทำขออาจารย์นิด้าถือเป็นพวกสุ่มสี่สุ่มหก ไม่มีงานทำ ถ้าอยากลงเล่นการเมืองก็ให้ลาออกจากอาจารย์แล้วมาลงสมัครเลือกตั้ง รัฐบาลไม่ได้มาจากการปฏิวัติแต่มาจากเสียงของประชาชน ผมเชื่อว่ารัฐบาลชุดนี้ล้มยากถ้าไม่มีเรื่องทุจริต 4 ปีบวก 4 ปี และในวันที่ 15 ต.ค. จะมีการเชิญองค์การคลังสินค้า (อคส.) องค์การตลาดเพื่อการเกษตร(อตก.),ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์( ธกส.) และผู้บังคับการตำรวจภูธร จ.สระแก้ว มาประชุมร่วมกัน นอกจากนี้ได้กำชับไปยังพล.ต.อ.พงศพัศ พงศ์เจริญ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปรามปรามยาเสพติด(ป.ป.ส.) ให้ประสานขอความร่วมมือไปยังแม่ทัพภาคที่ 1 เพื่อขอความร่วมมือในการดำเนินการเรื่องนี้ ทั้งนี้ผมได้วางกำลังตำรวจไว้ทุกโรงสี ถ้าพรรคประชาธิปัตย์มีข้อมูลการทุจริตของรัฐบาลทำไมต้องไปรอให้ถึงปลายเดือน ต.ค.ผมเป็นฝ่ายค้านมาถ้ามีจังหวะก็ต้องดำเนินการทันที ทำไมต้องไปรอรัฐบาลแถลงผลงาน” ร.ต.อ.เฉลิมกล่าว
ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวอีกว่า เหตุที่เรื่องนี้เป็นปัญหายุ่งยากเป็นเพราะผู้ค้าส่งออกเสียผลประโยชน์ คนเหล่านั้นเคยร่ำรวยอย่างเพลิดเพลินและเคยกำหนดราคาข้าวเอง แต่ขณะนี้รัฐเป็นผู้กำหนด ถ้าขายได้เกิน 1.5 หมื่นบาทต่อตันก็เชื่อว่ารัฐก็จะได้กำไร ดังนั้นนักการเมืองที่ออกมาคัดค้านในเรื่องนี้ตนเชื่อว่าการเลือกตั้งครั้ง หน้าก็จะได้ที่นั่งลดลง ในส่วนอาจารย์นิด้านั้น เมื่อศาลไม่รับฟ้องเช่นนี้จะเอาอะไรมาคลุมหัว เอาปี๊บหรือไม่ อย่างไรก็ตามตนขอเรียกร้องว่า เรื่องนี้ต้องให้โอกาสรัฐบาลได้มีการดำเนินนโยบายก่อนซึ่งหากไม่ดีการเลือก ตั้งสมัยหน้าก็จะไม่ได้รับการเลือกตั้ง
0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น