วันนี้ (6 มิ.ย.) ที่โรงแรมโกลเด้น ทิวลิป ซอฟเฟอริน กรุงเทพฯ
ชมรมสมาชิกวุฒิสภา 43-49 ได้จัดเสวนาเรื่อง “วิกฤตศาลรัฐธรรมนูญ…
ทางออกคืออะไร”
นายคำนวณ ชโลปถัมภ์ อดีตส.ว.สิงห์บุรี กล่าวว่า กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีหนังสือถึงสภาฯให้หยุดการพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตาม ม.291 โดยอ้างว่า มีความห่วงใยว่าจะกระทบมาตรา 68 และทำเพื่อเป็นการถ่วงดุลนั้น ไม่ทราบว่าลืมไปหรือไม่ว่าตั้งศาลรัฐธรรมนูญขึ้นมาเพื่ออะไรกัน มีหน้าที่ต้องดูว่าเรื่องอะไรที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญและไม่ใช่ทำหน้าที่ถ่วงดุล ทั้งนี้ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขดังกล่าวก็ระบุชัดว่าไม่ให้พิจารณาหมวด สถาบันกษัติรย์ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญสอบตกตั้งแต่แรก และในมาตรา 68 ก็บัญญัติชัดเจนว่า ต้องยื่นให้อัยการสูงสุดพิจารณาก่อน ถ้าเห็นว่าผิดค่อยมีการเดินหน้ายกคำร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญให้รับพิจารณาจะ มาร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเองไม่ได้ ถือเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ และไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ จงใจปฏิบัติหน้าที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งเข้าข่ายกระทำความผิด ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม ทางออกของเรื่องนี้ตนคิดว่า ศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คน ควรถอนเรื่องนี้เสีย บ้านเมืองจะได้ไม่เกิดวิกฤติอีก
นายพนัส ทัศนียานนท์ อดีต ส.ว.ตาก และ ส.ส.ร. 2540 กล่าวว่า คำสั่งจากศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวเป็นการใช้อำนาจแทรกแซงฝ่ายนิติบัญญัติอย่าง ที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยใช้อำนาจมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญ 2550 เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องแล้ว การที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้ยื่นเรื่องต่ออัยการสูงสุดก่อนนั้น ก็เพื่อให้ตรวจสอบข้อเท็จจริง เป็นการประกันตามหลักสิทธิ เสรีภาพ เพราะหากร้องถึงศาลรัฐธรรมนูญได้โดยตรงอาจเป็นการฟังความข้างเดียว และจะเป็นการละเมิดสิทธิของบุคคลได้โดยง่าย เพราะการยื่นคำร้องว่าล้มล้างการปกครองถือว่ามีความผิดฐานกบฏ มีโทษถึงประหารชีวิต และที่อ้างว่ามีความห่วงใยน่าจะเป็นการห่วงใยรัฐ ธรรมนูญ 2550 เพราะหากรัฐธรรมนูญมีฉบับใหม่คงกลัวจะมีการจัดองค์กรและโครงสร้างขององค์กร ตามรัฐธรรมนูญใหม่ โดยเฉพาะ มี ส.ว.บางรายถึงกับออกปากว่า เป็นการเสียดแทงหัวใจ อาจเป็นเพราะว่า อาจจะไม่มีระบบ ส.ว.สรรหา อีกต่อไป ดังนั้นน่าจะเป็นความหวั่นไหวว่าจะมีการล้มล้างองค์กรบางองค์กร ตามรัฐธรรมนูญ 2550
“ปรมาจารย์คนสำคัญด้านกฎหมายที่เป็นคนเขียนรัฐธรรมนูญมาโดยตลอดนั้น ก็ยังให้ความเห็นว่า เมื่อเป็นคำวินิจฉัยของศาลแล้วก็จะมีผลผูกพันและทางสภาฯต้องปฏิบัติตามด้วย อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกมุมมองที่ว่า ถ้าคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญเป็นคำสั่งโดยชอบจริง แล้วทำไมจึงไม่ใช้อำนาจคำสั่งไปยังประธานสภาฯโดยตรงเลย กลับใช้อำนาจสั่งผ่านเลขาธิการสภาฯ เพื่ออะไร ทางออกของเรื่องนี้ ประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยทุกคนต้องช่วยกันคิดระดมสมอง หาทางออกที่ดีและนิ่มนวลที่สุด เพราะขณะนี้มีการเสียหน้าซึ่งจะต้องรับสารภาพว่า ได้ทำความผิด คือออกคำสั่งที่ผิดจนมีผู้แจ้งความดำเนินคดีแล้ว แต่ผมก็คิดว่าควรหาทางออกนิ่มนวลที่สุดกว่านี้” นายพนัส กล่าว
นายนรินท์พงศ์ จีนาภักดิ์ อดีตนายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทยกล่าวว่า หากพบว่ามีบุคคลจะมาล้มล้างการปกครอง ช่องทางเดียวต้องเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตราวจสอบข้อเท็จจริงก่อน หรือเห็นว่าการกระทำในสภาไม่ชอบตารมรัฐธรรมนูญ ก็ต้องร้องต่ออัยการสูงสุดก่อนเช่นกัน เพราะเปรียบเหมือนไปร้องต่อพนักงานสอบสวน เมื่อมีเหตุอันควรในการร้องทุกข์ อัยการจึงจะนำเรื่องนี้ส่งศาลรัฐธรรมูญโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ 5 คำร้องกลับยื่นร้องเองโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญ
แหล่งที่มาข้อมูล www.dailynews.co.th
นายคำนวณ ชโลปถัมภ์ อดีตส.ว.สิงห์บุรี กล่าวว่า กรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีหนังสือถึงสภาฯให้หยุดการพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตาม ม.291 โดยอ้างว่า มีความห่วงใยว่าจะกระทบมาตรา 68 และทำเพื่อเป็นการถ่วงดุลนั้น ไม่ทราบว่าลืมไปหรือไม่ว่าตั้งศาลรัฐธรรมนูญขึ้นมาเพื่ออะไรกัน มีหน้าที่ต้องดูว่าเรื่องอะไรที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญและไม่ใช่ทำหน้าที่ถ่วงดุล ทั้งนี้ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขดังกล่าวก็ระบุชัดว่าไม่ให้พิจารณาหมวด สถาบันกษัติรย์ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญสอบตกตั้งแต่แรก และในมาตรา 68 ก็บัญญัติชัดเจนว่า ต้องยื่นให้อัยการสูงสุดพิจารณาก่อน ถ้าเห็นว่าผิดค่อยมีการเดินหน้ายกคำร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญให้รับพิจารณาจะ มาร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเองไม่ได้ ถือเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ และไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ จงใจปฏิบัติหน้าที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งเข้าข่ายกระทำความผิด ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 อย่างชัดเจน อย่างไรก็ตาม ทางออกของเรื่องนี้ตนคิดว่า ศาลรัฐธรรมนูญทั้ง 9 คน ควรถอนเรื่องนี้เสีย บ้านเมืองจะได้ไม่เกิดวิกฤติอีก
นายพนัส ทัศนียานนท์ อดีต ส.ว.ตาก และ ส.ส.ร. 2540 กล่าวว่า คำสั่งจากศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวเป็นการใช้อำนาจแทรกแซงฝ่ายนิติบัญญัติอย่าง ที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยใช้อำนาจมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญ 2550 เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องแล้ว การที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้ยื่นเรื่องต่ออัยการสูงสุดก่อนนั้น ก็เพื่อให้ตรวจสอบข้อเท็จจริง เป็นการประกันตามหลักสิทธิ เสรีภาพ เพราะหากร้องถึงศาลรัฐธรรมนูญได้โดยตรงอาจเป็นการฟังความข้างเดียว และจะเป็นการละเมิดสิทธิของบุคคลได้โดยง่าย เพราะการยื่นคำร้องว่าล้มล้างการปกครองถือว่ามีความผิดฐานกบฏ มีโทษถึงประหารชีวิต และที่อ้างว่ามีความห่วงใยน่าจะเป็นการห่วงใยรัฐ ธรรมนูญ 2550 เพราะหากรัฐธรรมนูญมีฉบับใหม่คงกลัวจะมีการจัดองค์กรและโครงสร้างขององค์กร ตามรัฐธรรมนูญใหม่ โดยเฉพาะ มี ส.ว.บางรายถึงกับออกปากว่า เป็นการเสียดแทงหัวใจ อาจเป็นเพราะว่า อาจจะไม่มีระบบ ส.ว.สรรหา อีกต่อไป ดังนั้นน่าจะเป็นความหวั่นไหวว่าจะมีการล้มล้างองค์กรบางองค์กร ตามรัฐธรรมนูญ 2550
“ปรมาจารย์คนสำคัญด้านกฎหมายที่เป็นคนเขียนรัฐธรรมนูญมาโดยตลอดนั้น ก็ยังให้ความเห็นว่า เมื่อเป็นคำวินิจฉัยของศาลแล้วก็จะมีผลผูกพันและทางสภาฯต้องปฏิบัติตามด้วย อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกมุมมองที่ว่า ถ้าคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญเป็นคำสั่งโดยชอบจริง แล้วทำไมจึงไม่ใช้อำนาจคำสั่งไปยังประธานสภาฯโดยตรงเลย กลับใช้อำนาจสั่งผ่านเลขาธิการสภาฯ เพื่ออะไร ทางออกของเรื่องนี้ ประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตยทุกคนต้องช่วยกันคิดระดมสมอง หาทางออกที่ดีและนิ่มนวลที่สุด เพราะขณะนี้มีการเสียหน้าซึ่งจะต้องรับสารภาพว่า ได้ทำความผิด คือออกคำสั่งที่ผิดจนมีผู้แจ้งความดำเนินคดีแล้ว แต่ผมก็คิดว่าควรหาทางออกนิ่มนวลที่สุดกว่านี้” นายพนัส กล่าว
นายนรินท์พงศ์ จีนาภักดิ์ อดีตนายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทยกล่าวว่า หากพบว่ามีบุคคลจะมาล้มล้างการปกครอง ช่องทางเดียวต้องเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตราวจสอบข้อเท็จจริงก่อน หรือเห็นว่าการกระทำในสภาไม่ชอบตารมรัฐธรรมนูญ ก็ต้องร้องต่ออัยการสูงสุดก่อนเช่นกัน เพราะเปรียบเหมือนไปร้องต่อพนักงานสอบสวน เมื่อมีเหตุอันควรในการร้องทุกข์ อัยการจึงจะนำเรื่องนี้ส่งศาลรัฐธรรมูญโดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ 5 คำร้องกลับยื่นร้องเองโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญ
แหล่งที่มาข้อมูล www.dailynews.co.th
0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น