วันนี้ (29 ต.ค.)ที่สำนังานผู้ตรวจการแผ่นดิน
ผู้นำแรงงานพนักงานรัฐวิสาหกิจ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) นำโดยนายนราพล
ปลายเนตร นายพิราม เกษมวงศ์ และนายพงศ์ฐิติ พงศ์ศิลามณี
ได้เข้ายื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ผ่านนายเฉลิมศักดิ์ จันทรทิม
เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ขอให้ตรวจสอบการประมูลคลื่นความถี่ 3
จีของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์
และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือกสทช.
โดยนายพิราม กล่าวว่า กรณีการประมูลเมื่อวันที่ 16 ต.ค. เห็นว่า ไม่ได้เป็นการเสนอราคาแข่งขันกันในการซื้อหรือขายทรัพย์สิน ตามความหมายของการประมูลในมาตรา 45 วรรคหนึ่งของพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ 2553 แต่เป็นเพียงการนำคลื่นความถี่มาจัดสรรให้กับผู้เข้าร่วมประมูลเท่านั้น อีกทั้งอาจเข้าลักษณะสมยอมในการเสนอราคาและมีพฤติการณ์ที่เข้าข่ายในลักษณะ ที่ไมมีการแข่งขัน เสนอราคาที่รัฐพึงจะได้รับประโยชน์สูงสุดอย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังเป็นห่วงในเรื่องของการโอนทรัพย์สิน เนื่องจากสัญญาสัมปทานในการให้บริการคลื่นความถี่ 2 จีที่บริษัททรู คอเปอร์เรชั่น บริษัทดีแทค ทำกับบริษัท กสท โทรคมนาคม และที่บริษัทเอไอเอส ทำกับบริษัททีโอทีนั้นระบุว่า นอกจากทั้ง 3 บริษัทต้องจ่ายผลตอบแทนให้กับรัฐปีละ 15% หรือราว 2 หมื่นล้านบาทต่อปี และต้องเป็นผู้พัฒนาโครงข่ายการให้บริการ โดยเมื่อสิ้นสุดสัญญาจะต้องโอนทรัพย์สินนั้นให้เป็นของรัฐ แต่ขณะนี้เมื่อกำลังจะพัฒนาคลื่นความถี่เป็น 3 จี ทางกสทช.กลับยังไม่ดำเนินการเรื่องการโอนทรัพย์สินในระบบคลื่นความถี่ 2 จีให้กับบริษัททีโอที และกสท.โทรคมนาคมให้แล้วเสร็จก่อน
อีกทั้งถ้าดูราคาประมูลคลื่น 3 จีที่ทั้ง 3 บริษัทประมูลได้ในราคา 4,500 บาทต่อ 1 ใบอนุญาตนั้น ทำให้ยิ่งน่าเป็นห่วงว่า 3 บริษัทจะนำเงินตรงไหนไปพัฒนาโครงข่ายระบบ 3 จี จึงอาจเป็นไปได้ว่า ทั้ง 3 บริษัทจะใช้วิธีการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินในระบบ 2 จีที่ต้องโอนให้กับรัฐ ไปเป็นทรัพย์สินในระบบ 3 จีที่เอกชนเป็นเจ้าของ โดยอาศัยข้ออ้างความต้องการของประชาชน ซึ่งความเสียหายที่อาจจะเกิดจากการโอนย้ายทรัพย์สินดังลก่าวจะทำให้ ทรัพย์สินของชาติเสียหายมหาศาลอาจมากกว่ารายได้จขากการประมูลคลื่น 3 จีเมื่อวันที่ 16 ต.ค.ก็เป็นได้จึงขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินดำเนินการตรวจสอบและยื่นเรื่องให้ ศาลปกครองสั่งชะลอการรับรองใบอนุญาตการประมูลคลื่น 3 จีออกไปก่อนและให้กสทช.ดำเนินการเรื่องการโอนย้ายทรัพย์สินในระบบคลื่นความ ถี่ 2 จีของบริษัทเอกชนซึ่งได้รับสัมปทานมาเป็นของรัฐให้แล้วเสร็จเสียก่อน
ด้านนายเฉลิมศักดิ์ กล่าวว่า ขณะนี้ผู้ตรวจการแผ่นดินทั้ง 3 คนได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการร้องของให้ตรวจการประมูลคลื่น 3 จีตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมา และได้เร่งรัดสให้ทางสำนักงานรวบรวมข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายต่างๆ และนำเรื่องดังกล่าวเข้าพิจารณาในการประชุมผู้ตรวจการแผ่นดินวันที่ 30 ต.ค.นี้ ซึ่งก็จะได้นำเสนอในส่วนคำร้องของพนักงานทีโอทีที่มาร้องนี้เพิ่มเติมเข้าไป ด้วย เพื่อที่ผู้ตรวจการแผ่นดินจะได้พิจารณาว่าเรื่องดังกล่าวอยู่ในอำนาจที่จะ รับไว้พิจารณาวินิจฉัยและส่งศาลปกครองตามที่มีการร้องหรือไม่ อย่างไรก็ตามการพิจารณาเรื่องนี้น่าจะเร็วเพราะทางกสทช. ก็ได้มีการชี้แจงเรื่องนี้เข้ามาแล้วทำให้ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ต้องเสียเวลา ในขั้นตอนให้กสทช.ชี้แจงอีก.
โดยนายพิราม กล่าวว่า กรณีการประมูลเมื่อวันที่ 16 ต.ค. เห็นว่า ไม่ได้เป็นการเสนอราคาแข่งขันกันในการซื้อหรือขายทรัพย์สิน ตามความหมายของการประมูลในมาตรา 45 วรรคหนึ่งของพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ 2553 แต่เป็นเพียงการนำคลื่นความถี่มาจัดสรรให้กับผู้เข้าร่วมประมูลเท่านั้น อีกทั้งอาจเข้าลักษณะสมยอมในการเสนอราคาและมีพฤติการณ์ที่เข้าข่ายในลักษณะ ที่ไมมีการแข่งขัน เสนอราคาที่รัฐพึงจะได้รับประโยชน์สูงสุดอย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังเป็นห่วงในเรื่องของการโอนทรัพย์สิน เนื่องจากสัญญาสัมปทานในการให้บริการคลื่นความถี่ 2 จีที่บริษัททรู คอเปอร์เรชั่น บริษัทดีแทค ทำกับบริษัท กสท โทรคมนาคม และที่บริษัทเอไอเอส ทำกับบริษัททีโอทีนั้นระบุว่า นอกจากทั้ง 3 บริษัทต้องจ่ายผลตอบแทนให้กับรัฐปีละ 15% หรือราว 2 หมื่นล้านบาทต่อปี และต้องเป็นผู้พัฒนาโครงข่ายการให้บริการ โดยเมื่อสิ้นสุดสัญญาจะต้องโอนทรัพย์สินนั้นให้เป็นของรัฐ แต่ขณะนี้เมื่อกำลังจะพัฒนาคลื่นความถี่เป็น 3 จี ทางกสทช.กลับยังไม่ดำเนินการเรื่องการโอนทรัพย์สินในระบบคลื่นความถี่ 2 จีให้กับบริษัททีโอที และกสท.โทรคมนาคมให้แล้วเสร็จก่อน
อีกทั้งถ้าดูราคาประมูลคลื่น 3 จีที่ทั้ง 3 บริษัทประมูลได้ในราคา 4,500 บาทต่อ 1 ใบอนุญาตนั้น ทำให้ยิ่งน่าเป็นห่วงว่า 3 บริษัทจะนำเงินตรงไหนไปพัฒนาโครงข่ายระบบ 3 จี จึงอาจเป็นไปได้ว่า ทั้ง 3 บริษัทจะใช้วิธีการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินในระบบ 2 จีที่ต้องโอนให้กับรัฐ ไปเป็นทรัพย์สินในระบบ 3 จีที่เอกชนเป็นเจ้าของ โดยอาศัยข้ออ้างความต้องการของประชาชน ซึ่งความเสียหายที่อาจจะเกิดจากการโอนย้ายทรัพย์สินดังลก่าวจะทำให้ ทรัพย์สินของชาติเสียหายมหาศาลอาจมากกว่ารายได้จขากการประมูลคลื่น 3 จีเมื่อวันที่ 16 ต.ค.ก็เป็นได้จึงขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินดำเนินการตรวจสอบและยื่นเรื่องให้ ศาลปกครองสั่งชะลอการรับรองใบอนุญาตการประมูลคลื่น 3 จีออกไปก่อนและให้กสทช.ดำเนินการเรื่องการโอนย้ายทรัพย์สินในระบบคลื่นความ ถี่ 2 จีของบริษัทเอกชนซึ่งได้รับสัมปทานมาเป็นของรัฐให้แล้วเสร็จเสียก่อน
ด้านนายเฉลิมศักดิ์ กล่าวว่า ขณะนี้ผู้ตรวจการแผ่นดินทั้ง 3 คนได้รับข้อมูลเกี่ยวกับการร้องของให้ตรวจการประมูลคลื่น 3 จีตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมา และได้เร่งรัดสให้ทางสำนักงานรวบรวมข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายต่างๆ และนำเรื่องดังกล่าวเข้าพิจารณาในการประชุมผู้ตรวจการแผ่นดินวันที่ 30 ต.ค.นี้ ซึ่งก็จะได้นำเสนอในส่วนคำร้องของพนักงานทีโอทีที่มาร้องนี้เพิ่มเติมเข้าไป ด้วย เพื่อที่ผู้ตรวจการแผ่นดินจะได้พิจารณาว่าเรื่องดังกล่าวอยู่ในอำนาจที่จะ รับไว้พิจารณาวินิจฉัยและส่งศาลปกครองตามที่มีการร้องหรือไม่ อย่างไรก็ตามการพิจารณาเรื่องนี้น่าจะเร็วเพราะทางกสทช. ก็ได้มีการชี้แจงเรื่องนี้เข้ามาแล้วทำให้ผู้ตรวจการแผ่นดินไม่ต้องเสียเวลา ในขั้นตอนให้กสทช.ชี้แจงอีก.
0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น