เมื่อวันที่ 25 ต.ค.ที่รัฐสภา ในการประชุมคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ศึกษาตรวจสอบเรื่องการทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา โดยมีน.ส.สุมล สุตะวิริยะวัฒน์ ส.ว.เพชรบุรี ในฐานประธานฯ ได้พิจารณาตรวจสอบการดำเนินการประมูล 3จี ว่า เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล หรือเข้าข่ายการกระทำผิดพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการเสนอราคาหรือฮั๊วประมูลหรือไม่ ตามที่มีการร้องเรียนมายังคณะกรรมาธิการฯ ซึ่งทางกรรมาธิการฯ ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าชี้แจง อาทิ พ.อ.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) และรองประธานกสทช. นายประวิทย์ สี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการโทรคมนาคม นายสุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกิจการโทรคมนาคม น.ส.สุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง เป็นต้น
โดยพ.อ.เศรษฐพงศ์ ชี้แจงว่า กสทช.ได้ดำเนินการจัดการประมูลโดยเป็นไปตามระเบียบและหลักเกณฑ์ของคณะ อนุกรรมรองรับการใช้งานคลื่น 3จี 2.1 กิกกะเฮิร์ทซ ทั้งการกำหนดคลื่นความถี่และราคา ที่มีความเหมาะสมเพื่อให้เกิดการแข่งขัน โดยยืนยันว่า การดำเนินงานเป็นไปตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการเสนอราคา ซึ่งมีความเป็นธรรมและโปร่งใส เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก และไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้กับบุคคลใด หรือบริษัทใดๆ
ด้านนายประวิทย์ หนึ่งในเสียงที่ไม่เห็นด้วยกับการประมูลดังกล่าว กล่าวว่า การกำหนดราคาแม้มีการตั้งราคาต่ำสุด แต่ควรมีการกำหนดราคาตั้งต้นที่สูงพอสมควร โดยค่าเฉลี่ยควรตั้งอยู่ที่ร้อยละ 82 จากต่ำสุดคือ ร้อยละ 67 และมีผู้ประกอบการอย่างน้อยหนึ่งรายที่มีพฤติกรรมไม่แข่งขัน โดยการรอช่องสัญญาณที่เหลือในระหว่างการประมูล
ขณะที่ น.ส.สุภา ชี้แจงถึงการทำหนังสือทักท้วงการประมูล ว่า เกิดจากการสังเกตพฤติกรรมการประมูล ที่เข้าข่ายสมยอมไม่มีการแข่งขัน รวมถึงการกำหนดราคาที่ไม่มีความสมเหตุสมผล จึงทำหนังสือทักท้วงว่าหน่วยงานต้นเรื่อง ควรจะมีการทบทวนการประมูลหรือไม่ ซึ่งโดยหลักทั่วไปแล้วจำเป็นจะต้องมีการแข่งขัน แต่กลับมีการจัดสรรคลื่นความถี่ตรงกับจำนวนของผู้ประกอบการที่ร่วมประมูลพอ ดี ทั้งหมดนี้จึงทำให้ ผู้ประมูลทั้ง เอไอเอส ทรู และดีแทค ได้ประโยชน์ ประหยัดค่าใช้จ่ายรวมกว่า 419,000 ล้านบาท และทำให้ทีโอที ขาดทุนทันที จึงไม่มีเหตุผลที่ต้องลดราคาลง ทั้งนี้การทำหนังสือทักท้วงของตนไม่ได้มีเจตนาแอบแฝงทางการเมืองแต่อย่างใด หากปล่อยเรื่องนี้ไปอาจมีปัญหาในภายภาคหน้า
ด้านนายสุทธิพล ชี้แจงว่า ตอนนี้กระแสข่าวหลายเรื่องเกี่ยวกับการประมูลคลาดเคลื่อน ยืนยันว่าการประมูลมีการพิจารณาหลักการอย่างรอบครอบแล้ว ซึ่งการกำหนดราคาประมูลต้องพิจารณาเป็นสองเรื่องคือราคาตั้งต้นและราคา มูลค่า ที่ในหลายประเทศมีการกำหนดราคาตั้งต้นเป็นสัดส่วนร้อยละ 50 ของราคามูลค่าเท่านั้น อีกทั้งตอนแรกการประมูลจะมีทั้งสิ้น 4 บริษัท แต่สุดท้ายเหลือ 3 บริษัท เพราะสู้ราคาไม่ไหว ส่วนกรณีที่รองปลัดกระทรวงการคลังส่งหนังสือให้ทบทวนการประมูลนั้น ยืนยันว่า การประมูลทำภายใต้กรอบของกฎหมายชัดเจน ไม่ได้ผิดพ.ร.บ.ฮั้วแต่อย่างใด เพราะเป็นเรื่องทางเทคนิคที่ กทค.สามารถกำหนดออกแบบเองได้ ไม่ได้มีการระบุไว้ว่าต้องเป็นไปตามระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างของสำนักนายก รัฐมนตรี รวมถึงกระบวนการประมูล ข้อสรุปการออกใบอนุญาต กทค.มีอำนาจทางกฎหมายที่จะสรุปผลโดยไม่ต้องส่งผ่านให้ กสทช.พิจารณา ตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายหลายท่าน ม.27 (4) ของพ.ร.บ.จัดซื้อจัดจ้าง ดังนั้นขอตั้งข้อสงสัยว่ามีกระบวนการพยายามล้มการประมูลหรือไม่
นายพัชรสุทธี สุจริตตานนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบการตลาดและการประมูลกล่าวว่า จากประสบการณ์ทราบมาว่าการประมูลคลื่นสัญญาณมี2แบบคือ การประมูลเพื่อเน้นประสิทธิภาพ และการประมูลเพื่อรายได้ของรัฐ ซึ่งการประมูลของไทยเป็นรูปแบบที่สากลใช้ตั้งแต่ปี 1994 ทั้งประเทศโปรตุเกส สิงคโปร์ ก็มีการประมูลคลื่นสัญญาณที่ใช้ราคาต่ำสุด เพื่อประสิทธิภาพให้มีการบริการสัญญาณอย่างทั่วถึง หากสร้างการแข่งขันปลอมเพื่อรายได้ของรัฐอาจเป็นการบิดเบือนกลไกตลาด
0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น