เมื่อวันที่ 17 ส.ค. ที่โรงแรมเซ็นทรา คอนเวนชันเซ็นเตอร์ นายปริญญา
เทวานฤมิตรกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กล่าวถึงกรณีที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อนุญาตให้นายบารมี พาณิช
(เด่นจันทร์) นักศึกษาชาย แต่งกายเป็นหญิงเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร ว่า
เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่
เนื่องจากในปีที่ผ่านมาได้มีนักศึกษามายื่นความจำนงขอแต่งกายเป็นหญิงเข้า
รับพระราชทานปริญญาบัตรด้วยกัน 6 ราย และในปีนี้มีเพิ่มอีก 2 ราย
ที่อยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณา ซึ่งตนมองว่าเป็นเรื่องเล็ก
เพราะทางมหาวิทยาลัยไม่ได้อนุญาตเป็นการทั่วไป
แต่จะพิจารณาอนุญาตเป็นรายบุคคล ในส่วนของนายบารมีนั้น
ได้มีใบรับรองแพทย์มาแสดงว่า จิตใจเป็นผู้หญิง
และแพทย์ก็เห็นสมควรว่าอยู่ในวิสัยที่ควรผ่อนปรน
อีกทั้งนักศึกรายนี้ยังได้ทำหนังสือถึงสำนักพระราชวัง เพื่อขออนุญาตแล้ว
ซึ่งทางสำนักพระราชวังก็ให้แนวทางว่า
เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของทางมหาวิทยาลัย
ซึ่งก่อนที่ทางมหาวิทยาลัยจะอนุญาตนั้น ก็ได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ว่า
หากนักศึกษาผู้ชายที่ใจเป็นหญิง
และต้องการที่จะแต่งกายเป็นผู้หญิงเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรนั้น
จะต้องทำหนังสือขอมาเป็นรายบุคคล
รวมถึงต้องแนบใบรับรองแพทย์มาเป็นหลักฐานว่าตนมีสภาพจิตใจที่ไม่ต้องกับเพศ
สภาพด้วย
นายปริญญา กล่าวต่อว่า ส่วนประเด็นในการไม่ขานชื่อคำนำหน้าบัณฑิตนั้น เป็นเหตุผลในเรื่องของเวลามากกว่า เพราะจำนวนบัณฑิตของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีจำนวนกว่า 7,000 คน และต้องรับพระราชทานปริญญาบัตรภายในวันเดียว จึงต้องใช้ความรวดเร็วในการขานชื่อ ซึ่งอาจจะขานไม่ตรงชื่อบ้างเป็นเรื่องธรรมดา ส่วนที่หลายฝ่ายมองว่าประเด็นนี้อาจจะเป็นบรรทัดฐานให้กับมหาวิทยาลัยอื่นนำ ไปปฏิบัตินั้น เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาแต่ละมหาวิทยาลัย
“เรื่องนี้คนที่ได้รับอนุญาตก็อยากให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นเหมือน มหาวิทยาลัยนำร่อง ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น แต่ขอย้ำว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องของแต่ละมหาวิทยาลัยในการพิจารณา ทั้งนี้ผมเห็นว่าในสังคมของเรามีเรื่องที่ต้องช่วยกันและแก้ไข ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่จะต้องช่วยกันพิจารณา เรื่องนี้เปรียบเทียบได้กับนักศึกษาที่ต้องนั่งรถเข็นขึ้นรับพระราชทาน ปริญญาบัตร ทางมหาวิทยาลัยก็ต้องจัดกระบวนการในการเข้ารับเป็นพิเศษ ก็เช่นเดียวกับนักศึกษาชายขอแต่งกายเป็นหญิง เราก็จะพิจารณาเป็นรายๆไป อย่างไรก็ตามในทางกลับกันหากมีนักศึกษาหญิงยื่นขอแต่งกายเป็นชาย ทางมหาวิทยาลัยต้องพิจารณาเช่นเดียวกัน”นายปริญญา กล่าว
นายปริญญา กล่าวต่อว่า ส่วนประเด็นในการไม่ขานชื่อคำนำหน้าบัณฑิตนั้น เป็นเหตุผลในเรื่องของเวลามากกว่า เพราะจำนวนบัณฑิตของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีจำนวนกว่า 7,000 คน และต้องรับพระราชทานปริญญาบัตรภายในวันเดียว จึงต้องใช้ความรวดเร็วในการขานชื่อ ซึ่งอาจจะขานไม่ตรงชื่อบ้างเป็นเรื่องธรรมดา ส่วนที่หลายฝ่ายมองว่าประเด็นนี้อาจจะเป็นบรรทัดฐานให้กับมหาวิทยาลัยอื่นนำ ไปปฏิบัตินั้น เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาแต่ละมหาวิทยาลัย
“เรื่องนี้คนที่ได้รับอนุญาตก็อยากให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นเหมือน มหาวิทยาลัยนำร่อง ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้น แต่ขอย้ำว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องของแต่ละมหาวิทยาลัยในการพิจารณา ทั้งนี้ผมเห็นว่าในสังคมของเรามีเรื่องที่ต้องช่วยกันและแก้ไข ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่จะต้องช่วยกันพิจารณา เรื่องนี้เปรียบเทียบได้กับนักศึกษาที่ต้องนั่งรถเข็นขึ้นรับพระราชทาน ปริญญาบัตร ทางมหาวิทยาลัยก็ต้องจัดกระบวนการในการเข้ารับเป็นพิเศษ ก็เช่นเดียวกับนักศึกษาชายขอแต่งกายเป็นหญิง เราก็จะพิจารณาเป็นรายๆไป อย่างไรก็ตามในทางกลับกันหากมีนักศึกษาหญิงยื่นขอแต่งกายเป็นชาย ทางมหาวิทยาลัยต้องพิจารณาเช่นเดียวกัน”นายปริญญา กล่าว
0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น