วันนี้ (30 ก.ค.)ที่อาคาร อปร. รพ.จุฬาลงกรณ์ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ
หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กล่าวในงานประชุมวิชาการวาระพิเศษเรื่อง “โรคมือเท้าปาก
ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด” ว่า โรคมือเท้าปากไม่ใช่โรคใหม่
เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากเชื้อไวรัสหลายตัว จากการศึกษาการระบาดในปี 2555
พบว่า 40 % เกิดจากเชื้อไวรัสคอกซากี่ เอ 6 ส่วนอีก 10 %
เกิดจากเชื้อเอนเทอโรไวรัส (อีวี) 71 และเกือบ 10 %
เกิดจากเชื้อไวรัสคอกซากี เอ 16 นอกนั้นเกิดจากเชื้อไวรัสตัวอื่นๆ และ 25 %
ตรวจไม่พบสายพันธุ์ของการเกิดโรค
ศ.นพ.ยง กล่าวต่อว่า เชื้อไวรัสก่อโรคมือเท้าปากไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับความรุนแรงของโรค แต่จะขึ้นอยู่กับอายุ โดยเฉพาะเด็ก สุขภาพของผู้ที่ได้รับเชื้อ เนั้นถ้าพบผู้ป่วยมีไข้สูง ชัก แขน ขาอ่อนแรง ซึม ให้รีบมาพบแพทย์เพื่อทำการรักษา ทั้งนี้เชื้อไวรัสในกลุ่มคอกซากี่มีโอกาสก่อให้เกิดภาวะสมองอักเสบและเสีย ชีวิตประมาณ 1 ใน แสนประชากร ส่วนเชื้อในกลุ่มเอนเทอโรไวรัสที่หลายคนกลัวนั้นมีโอกาสก่อให้เกิดภาวะสมอง อักเสบและเสียชีวิตในเด็กอายุน้อยกว่า 1 ขวบ คิดเป็นอัตรา 1 ใน 300 ประชากร ส่วนในเด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบ คิดเป็นอัตรา 1 ใน 3,000-5,000 ประชากร
“ปัจจุบัน ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคมือเท้าปากแต่ผมก็ได้ยินมาตลอดว่าจะมีการผลิต วัคซีนออกมาใช้ภายใน 3 ปี 5 ปี ส่วนตัวแล้วเห็นว่า ถ้าจะทำวัคซีนจริงๆ ต้องแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ทำจากเชื้อตาย มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับอัตราการเสียชีวิตแล้วไม่แน่ใจว่าจะคุ้ม และการทำวัคซีนแบบเชื้อเป็น ซึ่งสามารถทำได้ทีละมากๆ แต่ปัญหาคือเรื่องของความปลอดภัย จึงไม่ง่ายเลยที่จะทำวัคซีนออกมาใช้”ศ.นพ.ยง กล่าว
ศ.นพ.ยง กล่าวด้วยว่า เป็นที่น่าสังเกต คือ โรคมือ เท้า ปาก ที่เกิดจากเชื้อไวรัสคอกซากี่เอ 6 นั้นจะแสดงอาการของโรคออกมาค่อนข้างมากกว่าทุกปีที่ผ่านมา เคยมีเด็กอายุเพียง 6 เดือน เกิดตุ่มน้ำใสๆ ไปทั้งตัว ทั้งนี้ เด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือนจะมีภูมิคุ้มกันจากแม่ อายุ 6 เดือนถึง 5 ขวบ ไม่มีภูมิคุ้มกันประมาณ 70 % แต่พออายุ 12 ปีขึ้นไป 90 % จะมีภูมิคุ้มกันต่อโรคดังกล่าวแล้ว อย่างไรก็ตาม เนื่องจากแม้อัตราการเกิดในผู้ใหญ่จะมีน้อย แต่เนื่องจากต้องดูแลเด็กๆ อาจจะจับต้องคนนั้น แล้วไปจับต้องคนนี้อีก ดังนั้นในทุกกลุ่มคนจึงต้องดูแลความสะอาดของตัวเองให้เป็นนิสัย เพราะจากข้อมูลพบว่าหากมีเด็กในบ้านป่วยการติดต่อไปสู่คนในบ้านจะเกิดขึ้น ภายใน 7 วัน
ศ.นพ.ยง กล่าวอีว่า จากตัวอย่างผู้ป่วยประมาณ 600 ตัวอย่างพบว่า 4 ใน 5 เป็นโรคมือ เท้า ปาก ส่วนอีก 1 ใน 5 เป็นโรคเฮอแปงไจน่า ซึ่งจะมีอาการแตกต่างจากโรคมือ เท้า ปาก เพราะจะมีแผลในปากอย่างเดียว และจากการศึกษายังพบด้วยว่าโรคดังกล่าวเกิดจากเชื้อไวรัสคอกซากีสายพันธุ์เอ 5 เพียง 5 % เท่านั้น ดังนั้นจึงต้องขอเวลาศึกษาถึงสาเหตุการเกิดโรคนี้อีกครั้งว่าเกิดจากเชื้อ ไวรัสตัวใดกันแน่
ด้าน รศ.พญ.ธันยวีร์ ภูธนกิจ หน่วยโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า โรคมือเท้าปากพบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง โรคนี้จะอยู่กับเราทุกหน้าฝน มักพบในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ เชื้อที่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง คือ เอนเทอโรไวรัส 71 ทำให้ติดเชื้อที่ก้านสมอง อ่อนแรง กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ แต่พบน้อยกว่า 1% โดยผู้ป่วย 99% มักจะไม่มีอาการแทรกซ้อน ที่ผ่านมามีการศึกษาพบว่า เด็ก 1 คนจะแพร่เชื้ออีวี 71 ไปสู่เด็กคนอื่นได้ถึง 5 คนพอ ๆ กับไข้หวัดใหญ่ แต่ถ้าเป็นเชื้อคอกซากี่จะแพร่ไปสู่เด็กคนอื่นได้ประมาณ 2-3 คน เมื่อถามว่าเด็กที่เป็นโรคมือเท้าปากแล้วสามารถเป็นอีกได้หรือไม่ รศ.พญ.ธันยวีร์ กล่าวว่า ก็มีโอกาสเป็นซ้ำได้ ถ้ามีภูมิเฉพาะสายพันธุ์ที่เคยเป็นแล้ว เพราะไวรัสมือเท้าปากมีหลายตัว.
ศ.นพ.ยง กล่าวต่อว่า เชื้อไวรัสก่อโรคมือเท้าปากไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับความรุนแรงของโรค แต่จะขึ้นอยู่กับอายุ โดยเฉพาะเด็ก สุขภาพของผู้ที่ได้รับเชื้อ เนั้นถ้าพบผู้ป่วยมีไข้สูง ชัก แขน ขาอ่อนแรง ซึม ให้รีบมาพบแพทย์เพื่อทำการรักษา ทั้งนี้เชื้อไวรัสในกลุ่มคอกซากี่มีโอกาสก่อให้เกิดภาวะสมองอักเสบและเสีย ชีวิตประมาณ 1 ใน แสนประชากร ส่วนเชื้อในกลุ่มเอนเทอโรไวรัสที่หลายคนกลัวนั้นมีโอกาสก่อให้เกิดภาวะสมอง อักเสบและเสียชีวิตในเด็กอายุน้อยกว่า 1 ขวบ คิดเป็นอัตรา 1 ใน 300 ประชากร ส่วนในเด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบ คิดเป็นอัตรา 1 ใน 3,000-5,000 ประชากร
“ปัจจุบัน ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคมือเท้าปากแต่ผมก็ได้ยินมาตลอดว่าจะมีการผลิต วัคซีนออกมาใช้ภายใน 3 ปี 5 ปี ส่วนตัวแล้วเห็นว่า ถ้าจะทำวัคซีนจริงๆ ต้องแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ทำจากเชื้อตาย มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับอัตราการเสียชีวิตแล้วไม่แน่ใจว่าจะคุ้ม และการทำวัคซีนแบบเชื้อเป็น ซึ่งสามารถทำได้ทีละมากๆ แต่ปัญหาคือเรื่องของความปลอดภัย จึงไม่ง่ายเลยที่จะทำวัคซีนออกมาใช้”ศ.นพ.ยง กล่าว
ศ.นพ.ยง กล่าวด้วยว่า เป็นที่น่าสังเกต คือ โรคมือ เท้า ปาก ที่เกิดจากเชื้อไวรัสคอกซากี่เอ 6 นั้นจะแสดงอาการของโรคออกมาค่อนข้างมากกว่าทุกปีที่ผ่านมา เคยมีเด็กอายุเพียง 6 เดือน เกิดตุ่มน้ำใสๆ ไปทั้งตัว ทั้งนี้ เด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือนจะมีภูมิคุ้มกันจากแม่ อายุ 6 เดือนถึง 5 ขวบ ไม่มีภูมิคุ้มกันประมาณ 70 % แต่พออายุ 12 ปีขึ้นไป 90 % จะมีภูมิคุ้มกันต่อโรคดังกล่าวแล้ว อย่างไรก็ตาม เนื่องจากแม้อัตราการเกิดในผู้ใหญ่จะมีน้อย แต่เนื่องจากต้องดูแลเด็กๆ อาจจะจับต้องคนนั้น แล้วไปจับต้องคนนี้อีก ดังนั้นในทุกกลุ่มคนจึงต้องดูแลความสะอาดของตัวเองให้เป็นนิสัย เพราะจากข้อมูลพบว่าหากมีเด็กในบ้านป่วยการติดต่อไปสู่คนในบ้านจะเกิดขึ้น ภายใน 7 วัน
ศ.นพ.ยง กล่าวอีว่า จากตัวอย่างผู้ป่วยประมาณ 600 ตัวอย่างพบว่า 4 ใน 5 เป็นโรคมือ เท้า ปาก ส่วนอีก 1 ใน 5 เป็นโรคเฮอแปงไจน่า ซึ่งจะมีอาการแตกต่างจากโรคมือ เท้า ปาก เพราะจะมีแผลในปากอย่างเดียว และจากการศึกษายังพบด้วยว่าโรคดังกล่าวเกิดจากเชื้อไวรัสคอกซากีสายพันธุ์เอ 5 เพียง 5 % เท่านั้น ดังนั้นจึงต้องขอเวลาศึกษาถึงสาเหตุการเกิดโรคนี้อีกครั้งว่าเกิดจากเชื้อ ไวรัสตัวใดกันแน่
ด้าน รศ.พญ.ธันยวีร์ ภูธนกิจ หน่วยโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า โรคมือเท้าปากพบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง โรคนี้จะอยู่กับเราทุกหน้าฝน มักพบในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ เชื้อที่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง คือ เอนเทอโรไวรัส 71 ทำให้ติดเชื้อที่ก้านสมอง อ่อนแรง กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ แต่พบน้อยกว่า 1% โดยผู้ป่วย 99% มักจะไม่มีอาการแทรกซ้อน ที่ผ่านมามีการศึกษาพบว่า เด็ก 1 คนจะแพร่เชื้ออีวี 71 ไปสู่เด็กคนอื่นได้ถึง 5 คนพอ ๆ กับไข้หวัดใหญ่ แต่ถ้าเป็นเชื้อคอกซากี่จะแพร่ไปสู่เด็กคนอื่นได้ประมาณ 2-3 คน เมื่อถามว่าเด็กที่เป็นโรคมือเท้าปากแล้วสามารถเป็นอีกได้หรือไม่ รศ.พญ.ธันยวีร์ กล่าวว่า ก็มีโอกาสเป็นซ้ำได้ ถ้ามีภูมิเฉพาะสายพันธุ์ที่เคยเป็นแล้ว เพราะไวรัสมือเท้าปากมีหลายตัว.
0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น