วันนี้ ( 8 มิ.ย.) นายเลิศสิน รักษาสกุลวงศ์
ผอ.สำนักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมและธรณีภัยพิบัติ กรมทรัพยากรธรณี (
ทธ.)กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)
ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีเกิดน้ำป่าไหลหลากและดินโคลนถล่มในหลายพื้นที่ของภาคใต้
ว่า
เนื่องจากมีฝนตกหนักติดต่อกันเป็นเวลานานทำให้ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นอย่างต่อ
เนื่องจนล้นตลิ่ง
เป็นเหตุเกิดน้ำป่าไหลหลากและและปริมาณน้ำเกินกว่าการที่ดินจะสามารถอุ้มไว้
ได้จึงเกิดดินโคลนถล่มในหลายจังหวัดทางภาคใต้
ซึ่งทางกรมธรณีฯได้เข้าไปพูดคุยสร้างความเข้าใจกับประชาชนและติดตามตาม
สถานการณ์อยู่ตลอดเวลา โดยจะนำข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มาเปรียบเทียบกับข้อมูลของทางกรมทรัพยากรธรณีก่อนแจ้งเตือนไปยังประชาชนใน
พื้นที่ แต่การพยากรณ์สภาพอากาศจะมีความแม่นยำเพียง 3 วัน
จากนั้นสภาพอากาศจะเปลี่ยนแปลงไป
ทางกรมธรณีจึงใช้วิธีให้เครือข่ายประชาชนติดตามสำรวจปริมาณน้ำฝนในแต่ละ
พื้นที่
โดยจะแจกเครื่องวัดปริมาณน้ำฝนแก่เครือข่ายทุกคนให้วัดและแจ้งผลทุกวัน
“ เครือข่ายประชาชนมีส่วนสำคัญในการติดตามสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ ว่าแต่ละวันมีปริมาณน้ำฝนเท่าไรแล้วนำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลของกรมอุตุฯ หากพบว่าเป็นพื้นที่มีแนวโน้มจะเกิดน้ำป่าและดินโคลนก็จะแจ้งเตือนประชาชนใน พื้นที่ล่วงหน้า 1-2 วัน ให้เฝ้าระวังและขนของไปยังพื้นที่ปลอดภัย เพื่อง่ายแก่การอพยพหากเกิดเหตุการณ์ขึ้นจริง จะมีปัญหาอยู่บ้างก็ตรงถนน สะพานขาดเพราะฝนตกหนัก ซึ่งทางหน่วยงานท้องถิ่นได้ประสานกับกรมทางหลวงเข้าช่วยเหลือโดยการใช้สะพาน ชั่วคราวแทนก่อน ซึ่งประชาชนก็เข้าใจและให้ความร่วมมืออย่างดี โดยสถานการณ์ในปัจจุบันภาคใต้มีปริมาณน้ำฝนลดลง แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่องหรือไม่ เพราะสภาพอากาศเปรียบเปลี่ยนอยู่ตลอดจึงไม่สามารถคาดการณ์ในระยะยาวได้ ซึ่งในหลายจังหวัดยังคงต้องเฝ้าระวังดินโคลนถล่ม อาทิ จ. ระนอง นครศรีธรรมราชและสุราษฎร์ธานี จึงอยากให้ประชาชนติดตามข่าวสารอย่างต่อเนื่อง ” นายเลิศศิน กล่าว
นายเลิศศิน กล่าวอีกว่า ในช่วงเดือนมิ.ย.-ก.ค. ฝนจะทิ้งช่วงไปและจะกลับมาอีกครั้งในเดือนส.ค. ส่วนกรณีของดินโคลนถล่มนั้นไม่สามารถคาดการณ์ได้ เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ในการตรวจสอบปริมาณน้ำ ในดิน โดยขณะนี้ทาง ทธ.ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ศึกษาเครื่องวัดความชุ่มชื้นของดิน เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการพยากรณ์ แต่ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าจะนำมาใช้จริงได้หรือไม่หรือไม่อย่างไร
แหล่งที่มาข้อมูล www.dailynews.co.th
“ เครือข่ายประชาชนมีส่วนสำคัญในการติดตามสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ ว่าแต่ละวันมีปริมาณน้ำฝนเท่าไรแล้วนำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลของกรมอุตุฯ หากพบว่าเป็นพื้นที่มีแนวโน้มจะเกิดน้ำป่าและดินโคลนก็จะแจ้งเตือนประชาชนใน พื้นที่ล่วงหน้า 1-2 วัน ให้เฝ้าระวังและขนของไปยังพื้นที่ปลอดภัย เพื่อง่ายแก่การอพยพหากเกิดเหตุการณ์ขึ้นจริง จะมีปัญหาอยู่บ้างก็ตรงถนน สะพานขาดเพราะฝนตกหนัก ซึ่งทางหน่วยงานท้องถิ่นได้ประสานกับกรมทางหลวงเข้าช่วยเหลือโดยการใช้สะพาน ชั่วคราวแทนก่อน ซึ่งประชาชนก็เข้าใจและให้ความร่วมมืออย่างดี โดยสถานการณ์ในปัจจุบันภาคใต้มีปริมาณน้ำฝนลดลง แต่ไม่สามารถระบุได้ว่าจะลดลงอย่างต่อเนื่องหรือไม่ เพราะสภาพอากาศเปรียบเปลี่ยนอยู่ตลอดจึงไม่สามารถคาดการณ์ในระยะยาวได้ ซึ่งในหลายจังหวัดยังคงต้องเฝ้าระวังดินโคลนถล่ม อาทิ จ. ระนอง นครศรีธรรมราชและสุราษฎร์ธานี จึงอยากให้ประชาชนติดตามข่าวสารอย่างต่อเนื่อง ” นายเลิศศิน กล่าว
นายเลิศศิน กล่าวอีกว่า ในช่วงเดือนมิ.ย.-ก.ค. ฝนจะทิ้งช่วงไปและจะกลับมาอีกครั้งในเดือนส.ค. ส่วนกรณีของดินโคลนถล่มนั้นไม่สามารถคาดการณ์ได้ เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ในการตรวจสอบปริมาณน้ำ ในดิน โดยขณะนี้ทาง ทธ.ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ศึกษาเครื่องวัดความชุ่มชื้นของดิน เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการพยากรณ์ แต่ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าจะนำมาใช้จริงได้หรือไม่หรือไม่อย่างไร
แหล่งที่มาข้อมูล www.dailynews.co.th
0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น