วันนี้ (26 ธ.ค.) นายศักดิ์สิทธิ์ ซิ้มเจริญ หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 จ.นครสวรรค์ และผู้เชี่ยวชาญเรื่องเสือ
กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เปิดเผยว่า
สถานการณ์เสือโคร่งในป่า เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ปี 2555 ถือว่า
ค่อนข้างดีมาก ภายใต้พื้นที่ประมาณ 1.7
ล้านไร่ของผืนป่าที่สมบูรณ์ที่สุดในประเทศ พบเสือโคร่งตัวเต็มวัยประมาณ 70
ตัว ในจำนวนนี้เป็นเสือแม่ลูกอ่อน มีลูกเล็กๆอีก 5-6 ตัว
เสือแม่ลูกอ่อนแต่ละตัวมีลูกประมาณ 2-4 ตัว คาดว่า
ป่าห้วยขาแข้งน่าจะมีเสือโคร่งอยู่ราว 85-90 ตัว เป็นอย่างน้อย
โดยเฉลี่ยแล้ว พบว่า ภายใต้พื้นที่ 100 ตารางกิโลเมตรนั้น
จะมีเสือโคร่งหากินอยู่ประมาณ 2.4 ตัว
ก่อนหน้านี้ คาดว่าน่าจะมีมากกว่านี้ แต่เนื่องจากเสือแต่ละตัว มีอาณาเขตหากินค่อนข้างกว้าง คือ ตัวผู้จะใช้พื้นที่ประมาณ 200-300 ตารางกิโลเมตร ตัวเมียประมาณ 60-80 ตารางกิโลเมตร ถือว่าเป็นสัดส่วนที่เหมาะสมที่สุด ไม่แคบ และไม่หลวมจนเกินไป แต่จากการสำรวจพื้นที่ป่าโดยรอบห้วยขาแข้ง คือ ที่บริเวณอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ และอุทยานแห่งชาติคลองลาน พบว่าทั้ง 2 พื้นที่ เราไม่เคยสำรวจพบเสือเลย ตั้งแต่ไหนแต่ไร แต่ปีนี้เราถ่ายรูปเสือโคร่งตัวเต็มวัยได้มากถึง 10 ตัว ที่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ และที่อุทยานแห่งชาติคลองลานได้อีก 3-4 ตัว เป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างมาก
นายศักดิ์สิทธิ์ กล่าวต่อว่า คาดการว่า สาเหตุที่พบเสือในอุทยานแห่งชาติ ที่อยู่ติดกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ทั้งที่ไม่เคยเจอมาก่อนนั้น เป็นเพราะเสือที่เคยอาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าห้วยขาแข้งเริ่มล้นพื้นที่หากิน เพราะธรรมชาติของเสือโคร่งแล้วจะไม่หากินทับพื้นที่ซึ่งกันและกัน หากทับพื้นที่กัน ตัวใดตัวหนึ่ง จะหลีกออกไปหาพื้นที่ของตัวเอง โดยพื้นที่ใหม่ที่เข้าไปอยู่นั้น ต้องเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ และมีเหยื่อให้กินอย่างเพียงพอ แสดงว่าทั้งคลองลานและป่าแม่วงก์นั้นอุดมสมบูรณ์พอที่จะทำให้เสือขนาดใหญ่ อย่างเสือโคร่งอยู่ได้
“ในบรรดาประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมดนั้น ไทยถือว่าเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์เรื่องเสือมากที่สุด คือ อุดมสมบูรณ์ทั้งในแง่ของที่อยู่อาศัย และเหยื่อ ซึ่งทำให้เสือสามารถมีชีวิตได้อย่างมีความสุข ความจริงแล้ว เสือโคร่งจะอยู่ในพื้นที่ป่าที่เป็นป่าแบบทุ่งราบ มีแหล่งน้ำ ซึ่งป่าอนุรักษ์ในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็นป่าอนุรักษ์ที่เป็นภูเขาและเป็น เนินเขา ต่างกับที่อินเดียและรัสเซีย ที่พื้นที่ป่าอนุรักษ์จะเป็นที่ราบและมีแหล่งน้ำเป็นส่วนใหญ่ ทำให้เสือกระจายพันธุ์มากกว่าในไทย”นายศักดิ์สิทธิ์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะต้องทำอย่างไรบ้างเพื่อเพิ่มเสือในป่าอนุรักษ์ให้มากขึ้นกว่านี้ นายศักดิ์สิทธิ์ กล่าวว่า เสือจะอยู่ไม่ได้หากไม่มีเหยื่อ และไม่มีพื้นที่หากิน ซึ่งวันนี้ ถือเป็นโชคดีของเสือในป่าอนุรักษ์ในไทย ค่อนข้างจะอยู่ดีและอุดมสมบูรณ์ แต่ก็ไม่สามารถวางใจได้เต็มร้อย เพราะมูลค่าทางเศรษฐกิจของเสือนั้นสูงมาก มีคนอยากได้ไปครอบครองมาก มีความพยายามที่จะล่าเสือในป่าตลอดเวลา ก่อนหน้านี้ก็เห็นบ้างในป่าห้วยขาแข็ง ที่พรานป่าพยายามจะเข้าไปล่า วางยาเบื่อ แต่เมื่อเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนแบบเข้มข้นขึ้น ก็พบน้อยลง แต่ก็ต้องเฝ้าระวังอยู่ตลอดเวลา ไม่สามารถวางใจได้.
ก่อนหน้านี้ คาดว่าน่าจะมีมากกว่านี้ แต่เนื่องจากเสือแต่ละตัว มีอาณาเขตหากินค่อนข้างกว้าง คือ ตัวผู้จะใช้พื้นที่ประมาณ 200-300 ตารางกิโลเมตร ตัวเมียประมาณ 60-80 ตารางกิโลเมตร ถือว่าเป็นสัดส่วนที่เหมาะสมที่สุด ไม่แคบ และไม่หลวมจนเกินไป แต่จากการสำรวจพื้นที่ป่าโดยรอบห้วยขาแข้ง คือ ที่บริเวณอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ และอุทยานแห่งชาติคลองลาน พบว่าทั้ง 2 พื้นที่ เราไม่เคยสำรวจพบเสือเลย ตั้งแต่ไหนแต่ไร แต่ปีนี้เราถ่ายรูปเสือโคร่งตัวเต็มวัยได้มากถึง 10 ตัว ที่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ และที่อุทยานแห่งชาติคลองลานได้อีก 3-4 ตัว เป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างมาก
นายศักดิ์สิทธิ์ กล่าวต่อว่า คาดการว่า สาเหตุที่พบเสือในอุทยานแห่งชาติ ที่อยู่ติดกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ทั้งที่ไม่เคยเจอมาก่อนนั้น เป็นเพราะเสือที่เคยอาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าห้วยขาแข้งเริ่มล้นพื้นที่หากิน เพราะธรรมชาติของเสือโคร่งแล้วจะไม่หากินทับพื้นที่ซึ่งกันและกัน หากทับพื้นที่กัน ตัวใดตัวหนึ่ง จะหลีกออกไปหาพื้นที่ของตัวเอง โดยพื้นที่ใหม่ที่เข้าไปอยู่นั้น ต้องเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์ และมีเหยื่อให้กินอย่างเพียงพอ แสดงว่าทั้งคลองลานและป่าแม่วงก์นั้นอุดมสมบูรณ์พอที่จะทำให้เสือขนาดใหญ่ อย่างเสือโคร่งอยู่ได้
“ในบรรดาประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมดนั้น ไทยถือว่าเป็นประเทศที่มีความอุดมสมบูรณ์เรื่องเสือมากที่สุด คือ อุดมสมบูรณ์ทั้งในแง่ของที่อยู่อาศัย และเหยื่อ ซึ่งทำให้เสือสามารถมีชีวิตได้อย่างมีความสุข ความจริงแล้ว เสือโคร่งจะอยู่ในพื้นที่ป่าที่เป็นป่าแบบทุ่งราบ มีแหล่งน้ำ ซึ่งป่าอนุรักษ์ในประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็นป่าอนุรักษ์ที่เป็นภูเขาและเป็น เนินเขา ต่างกับที่อินเดียและรัสเซีย ที่พื้นที่ป่าอนุรักษ์จะเป็นที่ราบและมีแหล่งน้ำเป็นส่วนใหญ่ ทำให้เสือกระจายพันธุ์มากกว่าในไทย”นายศักดิ์สิทธิ์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า จะต้องทำอย่างไรบ้างเพื่อเพิ่มเสือในป่าอนุรักษ์ให้มากขึ้นกว่านี้ นายศักดิ์สิทธิ์ กล่าวว่า เสือจะอยู่ไม่ได้หากไม่มีเหยื่อ และไม่มีพื้นที่หากิน ซึ่งวันนี้ ถือเป็นโชคดีของเสือในป่าอนุรักษ์ในไทย ค่อนข้างจะอยู่ดีและอุดมสมบูรณ์ แต่ก็ไม่สามารถวางใจได้เต็มร้อย เพราะมูลค่าทางเศรษฐกิจของเสือนั้นสูงมาก มีคนอยากได้ไปครอบครองมาก มีความพยายามที่จะล่าเสือในป่าตลอดเวลา ก่อนหน้านี้ก็เห็นบ้างในป่าห้วยขาแข็ง ที่พรานป่าพยายามจะเข้าไปล่า วางยาเบื่อ แต่เมื่อเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนแบบเข้มข้นขึ้น ก็พบน้อยลง แต่ก็ต้องเฝ้าระวังอยู่ตลอดเวลา ไม่สามารถวางใจได้.
0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น