ที่ห้องพิจารณา 5 ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง สนามหลวง เมื่อเวลา 9.30
น.วันนี้ (31 ส.ค.) ศาลอ่านคำพิพากษาคดีประมาทหมายเลขคดี 1233/2554
ที่อัยการฝ่ายคดีเยาวชนและครอบครัว 1 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องน.ส.แพรวพราว (
นามสมมุติ) อายุ 18 ปี เป็นจำเลย ในความผิดฐานขับรถยนต์โดยประมาท
จนเป็นเหตุในผู้อื่นถึงแก่ความตาย และได้รับอันตรายต่อร่างกายบาดเจ็บสาหัส
และทรัพย์สินเสียหาย และใช้โทรศัพท์ขณะขับรถยนต์ ต่อศาลเยาวชน ฯ
เมื่อวันที่ 22 มิ.ย.54 โดยระบุว่า เมื่อวันที่ 27 ธ.ค.53 เวลากลางคืน
จำเลยซึ่งเป็นเยาวชนอายุ 17 ปี ขับรถยนต์ยฮอนด้า ซีวิค หมายเลขทะเบียน
ฎว-8461 กรุงเทพมหานคร ขึ้นบนทางยกระดับโทลล์เวย์ ขาเข้ามุ่งหน้า
ถ.ดินแดงด้วยความเร็วสูงเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด
ซึ่งจำเลยได้กระทำประมาทโดยปราศจากความระมัดระวัง
ซึ่งบุคคลในภาวะปกติจะต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์และจำเลยอาจใช้ความระมัด
ระวังเช่นนั้นได้แต่หาได้ใช้เพียงพอไม่ โดยจำเลยไม่ขับรถในช่องทางซ้าย
เมื่อมาถึงบริเวณแยกทางลงบางเขน ช่วงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ได้เปลี่ยนช่องทางไปมา เปลี่ยนช่องทางจากช่องทางขวาสุดเพื่อมาทางซ้ายถัดมา
และยังเปลี่ยนกลับไปยังช่องทางขวาอีกครั้ง
เป็นเหตุให้รถยนต์ซีวิคของจำเลยพุ่งเข้าชนรถยนต์ตู้โดยสารทะเบียน 13-7795
กรุงเทพ ที่วิ่งระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต –
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ซึ่งมีนางนฤมล ปิตาทานัง อายุ 38 ปี
เป็นคนขับทำให้รถยนต์ตู้เสียหลักหมุนไปชนขอบกั้นทางโทลล์เวย์
พลิกคว่ำพังเสียหาย
คนขับรถตู้โดยสารและผู้โดยสารภายในรถยนต์ตู้กระเด็นออกจากตัวตกจากทางด่วน
เสียชีวิตรวม 9 คน และบาดเจ็บสาหัสจำนวนหนึ่ง
ส่วนรถยนต์ของจำเลยแฉลบเลยจากรถยนต์ตู้ประมาณ 50 เมตร
นอกจากนี้ก่อนเกิดเหตุจำเลยยังได้ใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถยนต์
โดยมีหลักฐานเป็นรายงานการใช้โทรศัพท์มือถือของจำเลย
ชั้นสอบสวนจำเลยให้การปฏิเสธทั้ง 2 ข้อหา
ภายหลังการอ่านคำพิพากษานานกว่า 2 ชั่วโมง นางยุวดี เยี่ยงยุกด์สากล อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวว่า ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่าฝ่ายโจทก์มีประจักษ์พยานที่เป็นผู้เสียหายโดยสารมา กับรถตู้ และพยานปากเป็นพนักงานขับรถยกของดอนเมืองโทลลเวย์ที่ขับรถตามมาก่อนเกิดเหตุ ภาพวงจรปิดบนทางด่วน และหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์แล้วเห็นว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องจริง ศาลจึงพิพากษาลงโทษจำคุกน.ส.แพรวพราว จำเลยในความผิดฐานขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและทำให้ ทรัพย์สินเสียหายเป็นเวลา 3 ปี คำให้การในชั้นพิจารณาเป็นประโยชน์ลดโทษให้ 1 ใน 3 คงจำคุกเป็นเวลา 2 ปี โทษจำคุกให้รอลงอาญาเป็นเวลา 3 ปี คุมประพฤติจำเลย 3 ปี และให้รายงานตัวทุกๆ 3 เดือน ให้ทำงานบริการสังคมโดยการดูแลผู้ป่วยจากอุบัติเหตุเป็นเวลา 48 ชั่วโมง และห้ามจำเลยขับรถยนต์จนกว่าจะมีอายุครบ 25 ปีบริบูรณ์ ส่วนความผิดฐานใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ ศาลพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากไม่สามารถนำสืบได้ว่าจำเลยใช้โทรศัพท์จริงหรือไม่ เพราะอยู่ในรถ
นางยุวดี กล่าวอีกว่า ส่วนจะยื่นอุทธรณ์ขอให้ศาลวินิจฉัยไม่รอลงอาญาจำเลย รวมทั้งข้อหาใช้โทรศัพท์ขณะขับรถหรือไม่ จะต้องขอคัดคำพิพากษาเพื่อไปปรึกษากับอธิบดีอัยการฝ่ายคดีเยาวชนฯ ก่อน แต่ตามข้อกฎหมายมีหลักห้ามอุทธรณ์ในข้อหาใช้โทรศัพท์ เพราะมีแค่โทษปรับเท่านั้น ยกเว้นจะได้รับการรับรอง ถ้าหากโจทก์ร่วมต้องการจะยื่นอุทธรณ์คดีก็สามารถทำได้ทันทีภายในระยะเวลา 1 เดือน และสามารถขอขยายระยะเวลาได้อีกตามที่กฎหมายกำหนด
"คดีนี้ศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้อง ซึ่งเป็นธรรมชาติของคดีเยาวชนที่มุ่งเน้นแก้ไข บำบัด ฟื้นฟูเยาวชน" นางยุวดี กล่าว
พ.ต.อ.ศรัญ นิลวรรณ บิดาของน.ส.สุดาวดี นิลวรรณ นักศึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยตามคำฟ้องในความผิดฐานประมาท แต่ให้การลดโทษและคุมประพฤติ พร้อมทั้งห้ามขับรถ ซึ่งเท่าที่ได้หารือกับญาติผู้เสียหายส่วนใหญ่รู้สึกพอใจ แม้ศาลจะให้รอลงอาญาก็ตาม โดยไม่ติดใจการลงโทษ เพราะกฎหมายเยาวชนเน้นให้โอกาสเยาวชนแก้ไขกลับเนื้อกลับตัว และการฟ้องคดีนี้เพื่อต้องการให้ศาลชี้ว่าใครผิดใครถูก จึงต้องขอขอบคุณญาติผู้เสียทุกคน เจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ฝ่ายพิสูจน์หลักฐานที่รวบรวมหลักฐานไว้ละเอียดครบถ้วน พยานทุกปากโดยเฉพาะคนขับรถดอนเมืองโทลล์เวย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และศาลที่พิพากษาตามพยานหลักฐานที่ปรากฏ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าคดีนี้ฝ่ายจำเลยจะต้องขอยื่นอุทธรณ์ โดยโจทก์เองก็จะปรึกษาหารือกันต่อไป
ด้านนางถวิล เช้าเที่ยง อายุ 64 ปี มารดาของนายศาสตรา เช้าเที่ยง หรือดร.เป็ด กล่าวว่า พอใจผลคำพิพากษา ส่วนตัวต้องการยื่นอุทธรณ์ แต่ต้องปรึกษาทนายความอีกครั้งว่าจะยื่นอุทธรณ์หรือจะดำเนินคดีทางแพ่งหรือ ไม่อย่างไร โดยหลังจากนี้จะกลับไปบอกลูกชายว่าศาลพิพากษาลงโทษและได้ภาคทัณฑ์จำเลยแล้ว แต่ก็ยังรู้สึกเสียใจและเสียดายที่ลูกชายอุตสาห์ใช้เวลาหลายปีร่ำเรียนอย่าง หนักจนจบมา แต่ก็ยังไม่ได้มีโอกาสหาความสุขแต่งงานมีครอบครัวก็ต้องมาถูกแม่คุณคนนี้ขับ รถชนตาย
ขณะที่นางทองพูน พานทอง อายุ 57 ปี มารดาของนางสาวนฤมล คนขับรถตู้ กล่าวว่า ผลคำพิพากษาของศาลในวันนี้ ทำให้ตนรู้สึกดีขึ้นที่จะไม่มีใครกล่าวหาว่าลูกสาวตนเป็นคนผิดและสังคมจะได้ รู้ว่าลูกตนไม่ได้ทำผิด
ส่วนน.พ.กฤช รอดอารีย์ บิดานายเกียรติมันต์ รอดอารีย์ บัณฑิตเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า รู้สึกดีใจที่มีคำพิพากษาในวันนี้ เพราะรอคอยกันมานาน ส่วนญาติทุกคนจะอุทธรณ์ในข้อหาใช้โทรศัพท์ขณะขับรถหรือไม่ต้องรอปรึกษากับ ทีมทนายก่อน ทั้งนี้ ส่วนตัวเห็นว่าบทลงโทษของศาลกรณีนี้จะเป็นบรรทัดฐานให้กับคดีอื่นได้
นางกษมน มั่นศิลป์ มารดานายเกียรติมันต์ กล่าวว่า หลังจากนี้เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ต้องมารายงานตัวต่อศาลต่อศาลทุก 3 เดือน ต่อเจ้าพนักงานคุมประพฤติ ซึ่งจะทำหน้าที่ตรวจสอบว่าจำเลยได้ทำการฝ่าฝืนคำสั่งศาลหรือไม่ทั้งเรื่อง การห้ามเที่ยวกลางคืน ห้ามเสพยาเสพติด และทำงานบริการสังคม 48 ชั่วโมงภายในเวลา 2 ปี และให้กลับไปศึกษาโดยต้องนำผลการเรียนพร้อมผลการตรวจปัสสาวะส่งเจ้าพนักงาน คุมประพฤติทุก 3 เดือน ซึ่งฝ่ายโจทก์ร่วมคงไม่ไปติดตามตรวจสอบว่าจำเลยจะปฏิบัติตนผิดเงื่อนไขศาล หรือไม่ แต่ถ้ามีผู้ใดพบเห็นว่าจำเลยแอบไปเที่ยวกลางคืนหรือไปขับรถก็สามารถถ่ายรูป นำหลักฐานมาส่งศาลให้พิจารณาลงโทษได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันนี้ญาติผู้หายเดินทางมาศาลทุกคน โดยในช่วงเช้าก่อนเข้าฟังคำพิพากษาญาติผู้เสียหายเดินทางไปสักการะศาลหลัก เมืองเพื่อขอพรให้คดีจบสิ้นโดยเร็ว ส่วนน.ส.แพรวพราวเดินทางมาพร้อมบิดา-มารดาและทนายความและเข้าห้องพิจารณา ทันที ซึ่งภายหลังการฟังคำพิพากษาน.ส.แพรวพราวและครอบครัวเดินออกจากห้องพิจารณา ด้วยสีหน้าที่แสดงอาการโล่งใจ
ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า ก่อนหน้านี้คดีนี้ศาล เคยนัดฟังคำพิพากษามาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 22 มิ.ย.55 แต่ศาลได้มีข้อเสนอแนะให้คู่ความทั้งสองฝ่าย ได้ร่วมประชุมกลุ่มสหวิชาชีพ เพื่อให้ครอบครัวผู้เสียหาย นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ ร่วมกันประเมินและหารือเพื่อวางแผนการเยียวยา และบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่ศูนย์ให้คำปรึกษาแนะนำและประสานการประชุม เพื่อแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็ก เยาวชนและครอบครัว ตามพ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวกลาง พ.ศ.2553 มาตรา132 ซึ่งต่อมาได้มีการนัดประชุมกลุ่มครอบครับเรื่อยมาตั้งแต่วันที่ 2 ก.ค. จนกระทั่งวันที่ 30 ก.ค. กลุ่มครอบครัวผู้เสียหาย ได้ประชุมร่วมกับจำเลยและทนายความ ซึ่งได้มีการกล่าวขออภัยกัน โดยฝ่ายญาติผู้เสียหายยังยืนยันที่จะให้ศาลมีคำพิพากษาคดี ทั้งนี้ ญาติผู้เสียหายยังได้ฟ้องคดีแพ่งฐานละเมิดเรียกค่าเสียหาย 120 ล้านบาท โดยขณะนี้ศาลแพ่งให้จำหน่ายคดีไว้ชั่วคราวจนกว่าศาลเยาวชนฯ จะมีคำพิพากษา.
ภายหลังการอ่านคำพิพากษานานกว่า 2 ชั่วโมง นางยุวดี เยี่ยงยุกด์สากล อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวว่า ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่าฝ่ายโจทก์มีประจักษ์พยานที่เป็นผู้เสียหายโดยสารมา กับรถตู้ และพยานปากเป็นพนักงานขับรถยกของดอนเมืองโทลลเวย์ที่ขับรถตามมาก่อนเกิดเหตุ ภาพวงจรปิดบนทางด่วน และหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์แล้วเห็นว่าจำเลยกระทำผิดตามฟ้องจริง ศาลจึงพิพากษาลงโทษจำคุกน.ส.แพรวพราว จำเลยในความผิดฐานขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและทำให้ ทรัพย์สินเสียหายเป็นเวลา 3 ปี คำให้การในชั้นพิจารณาเป็นประโยชน์ลดโทษให้ 1 ใน 3 คงจำคุกเป็นเวลา 2 ปี โทษจำคุกให้รอลงอาญาเป็นเวลา 3 ปี คุมประพฤติจำเลย 3 ปี และให้รายงานตัวทุกๆ 3 เดือน ให้ทำงานบริการสังคมโดยการดูแลผู้ป่วยจากอุบัติเหตุเป็นเวลา 48 ชั่วโมง และห้ามจำเลยขับรถยนต์จนกว่าจะมีอายุครบ 25 ปีบริบูรณ์ ส่วนความผิดฐานใช้โทรศัพท์ขณะขับรถ ศาลพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากไม่สามารถนำสืบได้ว่าจำเลยใช้โทรศัพท์จริงหรือไม่ เพราะอยู่ในรถ
นางยุวดี กล่าวอีกว่า ส่วนจะยื่นอุทธรณ์ขอให้ศาลวินิจฉัยไม่รอลงอาญาจำเลย รวมทั้งข้อหาใช้โทรศัพท์ขณะขับรถหรือไม่ จะต้องขอคัดคำพิพากษาเพื่อไปปรึกษากับอธิบดีอัยการฝ่ายคดีเยาวชนฯ ก่อน แต่ตามข้อกฎหมายมีหลักห้ามอุทธรณ์ในข้อหาใช้โทรศัพท์ เพราะมีแค่โทษปรับเท่านั้น ยกเว้นจะได้รับการรับรอง ถ้าหากโจทก์ร่วมต้องการจะยื่นอุทธรณ์คดีก็สามารถทำได้ทันทีภายในระยะเวลา 1 เดือน และสามารถขอขยายระยะเวลาได้อีกตามที่กฎหมายกำหนด
"คดีนี้ศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยตามฟ้อง ซึ่งเป็นธรรมชาติของคดีเยาวชนที่มุ่งเน้นแก้ไข บำบัด ฟื้นฟูเยาวชน" นางยุวดี กล่าว
พ.ต.อ.ศรัญ นิลวรรณ บิดาของน.ส.สุดาวดี นิลวรรณ นักศึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยตามคำฟ้องในความผิดฐานประมาท แต่ให้การลดโทษและคุมประพฤติ พร้อมทั้งห้ามขับรถ ซึ่งเท่าที่ได้หารือกับญาติผู้เสียหายส่วนใหญ่รู้สึกพอใจ แม้ศาลจะให้รอลงอาญาก็ตาม โดยไม่ติดใจการลงโทษ เพราะกฎหมายเยาวชนเน้นให้โอกาสเยาวชนแก้ไขกลับเนื้อกลับตัว และการฟ้องคดีนี้เพื่อต้องการให้ศาลชี้ว่าใครผิดใครถูก จึงต้องขอขอบคุณญาติผู้เสียทุกคน เจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ฝ่ายพิสูจน์หลักฐานที่รวบรวมหลักฐานไว้ละเอียดครบถ้วน พยานทุกปากโดยเฉพาะคนขับรถดอนเมืองโทลล์เวย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และศาลที่พิพากษาตามพยานหลักฐานที่ปรากฏ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าคดีนี้ฝ่ายจำเลยจะต้องขอยื่นอุทธรณ์ โดยโจทก์เองก็จะปรึกษาหารือกันต่อไป
ด้านนางถวิล เช้าเที่ยง อายุ 64 ปี มารดาของนายศาสตรา เช้าเที่ยง หรือดร.เป็ด กล่าวว่า พอใจผลคำพิพากษา ส่วนตัวต้องการยื่นอุทธรณ์ แต่ต้องปรึกษาทนายความอีกครั้งว่าจะยื่นอุทธรณ์หรือจะดำเนินคดีทางแพ่งหรือ ไม่อย่างไร โดยหลังจากนี้จะกลับไปบอกลูกชายว่าศาลพิพากษาลงโทษและได้ภาคทัณฑ์จำเลยแล้ว แต่ก็ยังรู้สึกเสียใจและเสียดายที่ลูกชายอุตสาห์ใช้เวลาหลายปีร่ำเรียนอย่าง หนักจนจบมา แต่ก็ยังไม่ได้มีโอกาสหาความสุขแต่งงานมีครอบครัวก็ต้องมาถูกแม่คุณคนนี้ขับ รถชนตาย
ขณะที่นางทองพูน พานทอง อายุ 57 ปี มารดาของนางสาวนฤมล คนขับรถตู้ กล่าวว่า ผลคำพิพากษาของศาลในวันนี้ ทำให้ตนรู้สึกดีขึ้นที่จะไม่มีใครกล่าวหาว่าลูกสาวตนเป็นคนผิดและสังคมจะได้ รู้ว่าลูกตนไม่ได้ทำผิด
ส่วนน.พ.กฤช รอดอารีย์ บิดานายเกียรติมันต์ รอดอารีย์ บัณฑิตเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า รู้สึกดีใจที่มีคำพิพากษาในวันนี้ เพราะรอคอยกันมานาน ส่วนญาติทุกคนจะอุทธรณ์ในข้อหาใช้โทรศัพท์ขณะขับรถหรือไม่ต้องรอปรึกษากับ ทีมทนายก่อน ทั้งนี้ ส่วนตัวเห็นว่าบทลงโทษของศาลกรณีนี้จะเป็นบรรทัดฐานให้กับคดีอื่นได้
นางกษมน มั่นศิลป์ มารดานายเกียรติมันต์ กล่าวว่า หลังจากนี้เป็นหน้าที่ของจำเลยที่ต้องมารายงานตัวต่อศาลต่อศาลทุก 3 เดือน ต่อเจ้าพนักงานคุมประพฤติ ซึ่งจะทำหน้าที่ตรวจสอบว่าจำเลยได้ทำการฝ่าฝืนคำสั่งศาลหรือไม่ทั้งเรื่อง การห้ามเที่ยวกลางคืน ห้ามเสพยาเสพติด และทำงานบริการสังคม 48 ชั่วโมงภายในเวลา 2 ปี และให้กลับไปศึกษาโดยต้องนำผลการเรียนพร้อมผลการตรวจปัสสาวะส่งเจ้าพนักงาน คุมประพฤติทุก 3 เดือน ซึ่งฝ่ายโจทก์ร่วมคงไม่ไปติดตามตรวจสอบว่าจำเลยจะปฏิบัติตนผิดเงื่อนไขศาล หรือไม่ แต่ถ้ามีผู้ใดพบเห็นว่าจำเลยแอบไปเที่ยวกลางคืนหรือไปขับรถก็สามารถถ่ายรูป นำหลักฐานมาส่งศาลให้พิจารณาลงโทษได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในวันนี้ญาติผู้หายเดินทางมาศาลทุกคน โดยในช่วงเช้าก่อนเข้าฟังคำพิพากษาญาติผู้เสียหายเดินทางไปสักการะศาลหลัก เมืองเพื่อขอพรให้คดีจบสิ้นโดยเร็ว ส่วนน.ส.แพรวพราวเดินทางมาพร้อมบิดา-มารดาและทนายความและเข้าห้องพิจารณา ทันที ซึ่งภายหลังการฟังคำพิพากษาน.ส.แพรวพราวและครอบครัวเดินออกจากห้องพิจารณา ด้วยสีหน้าที่แสดงอาการโล่งใจ
ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า ก่อนหน้านี้คดีนี้ศาล เคยนัดฟังคำพิพากษามาแล้วครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 22 มิ.ย.55 แต่ศาลได้มีข้อเสนอแนะให้คู่ความทั้งสองฝ่าย ได้ร่วมประชุมกลุ่มสหวิชาชีพ เพื่อให้ครอบครัวผู้เสียหาย นักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ ร่วมกันประเมินและหารือเพื่อวางแผนการเยียวยา และบำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชนที่ศูนย์ให้คำปรึกษาแนะนำและประสานการประชุม เพื่อแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็ก เยาวชนและครอบครัว ตามพ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวกลาง พ.ศ.2553 มาตรา132 ซึ่งต่อมาได้มีการนัดประชุมกลุ่มครอบครับเรื่อยมาตั้งแต่วันที่ 2 ก.ค. จนกระทั่งวันที่ 30 ก.ค. กลุ่มครอบครัวผู้เสียหาย ได้ประชุมร่วมกับจำเลยและทนายความ ซึ่งได้มีการกล่าวขออภัยกัน โดยฝ่ายญาติผู้เสียหายยังยืนยันที่จะให้ศาลมีคำพิพากษาคดี ทั้งนี้ ญาติผู้เสียหายยังได้ฟ้องคดีแพ่งฐานละเมิดเรียกค่าเสียหาย 120 ล้านบาท โดยขณะนี้ศาลแพ่งให้จำหน่ายคดีไว้ชั่วคราวจนกว่าศาลเยาวชนฯ จะมีคำพิพากษา.
0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น