วันนี้ ( 22 ก.ค.) นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
เปิดเผยว่า กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายพัฒนารูปแบบการดูแลผู้พิการจาก
อุบัติเหตุจราจร และโรคเรื้อรัง เช่นหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก
จนเกิดความพิการ ช่วยตัวเองไม่ได้ ซึ่งคาดว่ามีผู้ป่วยกลุ่มนี้ประมาณร้อยละ
2 ของทั้งประเทศหรือประมาณ 1 ล้านราย และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในอนาคตจาก 2
ปัจจัย คือการที่ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
และประชาชนป่วยเป็นโรคเรื้อรังมากขึ้น
จำเป็นต้องสังเคราะห์ระบบใหม่และพัฒนาทีมงานที่เอื้อต่อการดูแลโรคเรื้อรัง
จากการวิเคราะห์ล่าสุดในปี53 จำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังทั่วประเทศมี 1.7
ล้านราย ขณะที่ในปี51 มีผู้ป่วย 1.4 ล้านราย หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 19
คาดว่าประเทศไทยจะมีมูลค่าการรักษาโรคเรื้อรังสูงถึงปีละ 52,000
ล้านบาทในปี 58 จึงมีแนวคิดในการจัดตั้งศูนย์ดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
ใช้ชื่อว่า "อโรคยศาล" เป็นโครงการนำร่อง 5 แห่งในแต่ละภาค
ได้แก่โรงพยาบาลขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ โรงพยาบาลจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
โรงพยาบาลอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี โรงพยาบาลห้วยยอด จังหวัดตรัง
และที่สถาบันการแพทย์แผนไทย ยศเส กรุงเทพมหานคร ใช้งบลงทุน 54 ล้านบาท
โดยให้กรมสนับสนุนบริการ พัฒนาอาคารสถานที่เครื่องมือ
และอุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็น
นายแพทย์อภิชัย มงคล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า รูปแบบการบริการของอโรคยศาล จะมีโครงสร้างสำคัญ 2 ส่วน คือ การจัดระบบบริการสุขภาพของสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิ ทั้งสถานที่ เครื่องมือ อุปกรณ์ ทีมสหวิชาชีพ 12 คนทำหน้าที่ดูแลคนไข้เช่น แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่กายภาพบำบัด เจ้าหน้าที่แพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก นักโภชนาการ ผู้ช่วยเหลือดูแลจากชุมชน โดยเชื่อมโยงกับ หมอพื้นบ้าน เพื่อเป็นการสนับสนุนทรัพยากรในชุมชนให้เอื้อต่อการดูแลผู้ป่วยพิการ ให้สามารถดูแลรักษาตนเองได้อย่างเหมาะสมและลดภาวะแทรกซ้อน ลักษณะเฉพาะขอ งอโรคยศาล จะเป็นอาคารชั้นเดียว ระบบระบายอากาศดี แยกเป็นการเฉพาะออกจากหอผู้ป่วยทั่วไปเพื่อป้องกันการติดเชื้อ เนื่องจาก ผู้ป่วยเรื้อรังจะมีภูมิต้านทานโรคต่ำ เสี่ยงติดเชื้อได้ง่าย ภายในอาคารมีทั้งห้องผู้ป่วยรวมและห้องพิเศษ ห้องสันทนาการเพื่อทำกิจกรรม ห้องปฐมพยาบาล ห้องกายภาพบำบัด ห้องศาสนบำบัด คาดว่าจะเริ่มให้การดูแลตั้งแต่เดือนตุลาคม 55 เป็นต้นไป และประเมินผลในอีก 1 ปี เพื่อดำเนินการต่อในพื้นที่อื่น .
นายแพทย์อภิชัย มงคล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า รูปแบบการบริการของอโรคยศาล จะมีโครงสร้างสำคัญ 2 ส่วน คือ การจัดระบบบริการสุขภาพของสถานพยาบาลระดับปฐมภูมิ ทั้งสถานที่ เครื่องมือ อุปกรณ์ ทีมสหวิชาชีพ 12 คนทำหน้าที่ดูแลคนไข้เช่น แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่กายภาพบำบัด เจ้าหน้าที่แพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก นักโภชนาการ ผู้ช่วยเหลือดูแลจากชุมชน โดยเชื่อมโยงกับ หมอพื้นบ้าน เพื่อเป็นการสนับสนุนทรัพยากรในชุมชนให้เอื้อต่อการดูแลผู้ป่วยพิการ ให้สามารถดูแลรักษาตนเองได้อย่างเหมาะสมและลดภาวะแทรกซ้อน ลักษณะเฉพาะขอ งอโรคยศาล จะเป็นอาคารชั้นเดียว ระบบระบายอากาศดี แยกเป็นการเฉพาะออกจากหอผู้ป่วยทั่วไปเพื่อป้องกันการติดเชื้อ เนื่องจาก ผู้ป่วยเรื้อรังจะมีภูมิต้านทานโรคต่ำ เสี่ยงติดเชื้อได้ง่าย ภายในอาคารมีทั้งห้องผู้ป่วยรวมและห้องพิเศษ ห้องสันทนาการเพื่อทำกิจกรรม ห้องปฐมพยาบาล ห้องกายภาพบำบัด ห้องศาสนบำบัด คาดว่าจะเริ่มให้การดูแลตั้งแต่เดือนตุลาคม 55 เป็นต้นไป และประเมินผลในอีก 1 ปี เพื่อดำเนินการต่อในพื้นที่อื่น .
0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น