ประเด็นก็คือ ส่วนใหญ่แล้วการที่แบตฯหมดไวไม่ได้มีสาเหตุมาจากปัญหาการทำงานของโอเอส หรือตัวอุปกรณ์ Android แต่มักเกิดจากการเปิดคุณสมบัติการใช้งานต่างๆ ที่บางทีก็ไม่จำเป็นต้องใช้งานในเวลานั้น แต่มันก็ถูกเปิดให้ทำงานตลอดเวลา แล้วอย่างนี้แบตเตอรี่จะไม่หมดได้อย่างไร? แถมบางคุณสมบัติยังสวาปามพลังงานแบบเต็มเหนี่ยวอีกด้วย พูดอย่างนี้ก็ไม่ได้ หมายความว่า คุณจะต้องปิดคุณสมบัติการทำงานเจ๋งๆ มากมายของ Android อย่างเช่น การสตรีมเพลงเพราะๆ จากทั่วโลก หรือการเชื่อมต่อไร้สาย คุณผู้อ่านบางท่านอาจจะบอกว่า ไม่ค่อยเป็นปัญหา เพราะมีแบตฯสำรองติดตัวตลอดเวลา แต่อย่างน้อย Tip นี้จะทำให้คุณทราบว่า แอพฯ หรือคุณสมบัติการทำงานใดบ้างที่กินไฟจากแบตฯมากมาย ว่าแล้วเราไปดูกันเลยดีกว่าครับ
Bluetooth ไม่ใช้ปิดซะ บ่อย ครั้งที่ผมสังเกตเห็นผู้ใช้สมาร์ทโฟนหลายรายที่เปิดคุณสมบัติการเชื่อมต่อ ไร้สาย Bluetooth ไว้ ทั้งๆ ที่ไม่ได้ใช้หูฟังไร้สาย หรือโอนไฟล์แบบไร้สายกับชาวบ้าน เพราะฉะนั้นการเปิดคุณสมบัตินี้ไว้ตลอดเวลาจึงไม่ใช่เรื่องจำเป้น ดังนั้น หากคุณไม่ได้ใช้หูฟังไร้สาย หรือใช้มือถือในการสื่อสารกับอุปกรณ์ไร้สายอื่นๆ ตลอดจนคอมพิวเตอร์ เพิ่นโอนไฟล์ หรือเล่นแอพฯใดๆ ทางที่ดีปิด Bluetooth (off) โดยแตะที่ widget บนหน้าโฮมซะเดี๋ยวนี้ จะช่วยประหยัดแบตฯ ได้นานขึ้นอีกนิด :D
เลิกใช้ Wireless Network ระบุตำแหน่ง แม้การระบุ ตำแหน่ง (My Location) ด้วยเครือข่ายไร้สายจะใช้แบตเตอรี่น้อยกว่า GPS (Global Positioning System) แต่ถ้าเปิดทั้งคู่ รับรองได้เลยว่า แบตเตอรี่คุณจะหมดเร็วอย่างที่คุณคาดไม่ถึงเลยทีเดียว หากไม่ต้องการเปิดเผย ตัวตนให้คนได้เห็นกันว่าอยู่ที่ไหนบนโลกนี้ แนะนำให้ปิดคุณสมบัตินี้จะดีกว่าครับ โดยเลือกเมนู Settings/Location/Use wireless networks
GPS จอมเขมือบแบตเตอรี่ แม้ จะเป็นคุณสมบัติการทำงานที่พูดถึงเป็นอันดับที่ 3 แต่ความจริงแล้ว มันเป็นฟังก์ชันที่กินไฟจากแบตเตอรี่แบบไม่บันยะบันยังเลยทีเดียว โดยเฉพาะเวลาที่ตัวเครื่องสื่อสารสัญญาณกับดาวเทียม ดังนั้นคุณควรจะเลือก เปิดใช้งานเฉพาะในยามจำเป็นเท่านั้น ถ้าให้ดีควรสังเกตบริเวณ notification bar ว่ามีไอคอน GPS โผล่ขึ้นมา หรือไม่?
เปิด Wi-Fi ไว้ตลอด หรือปิดดีล่ะ? หลัง จากผ่านมา 4 ข้อ คุณผู้อ่านบางท่านอาจจะคิดว่า ปิดมันซะทุกอย่างอย่างนี้ ปิดเครื่องเลยดีกว่าไหม? :D ความจริงไม่ถึงขั้นนั้นหรอกครับ สำหรับกรณีที่คุณทำงานอยู่ใกล้บริเวณที่มีสัญญาณ WLAN ตลอดเวลา เช่นในบ้าน หรือสำนักงาน การเปิด Wi-Fi ให้ทำงานตลอดเวลาน่าจะเหมาะกว่าการเชื่อมต่อผ่าน 3G เนื่องจากการใช้คลื่นวิทยุ Wi-Fi จะกินไฟจากแบตเตอรี่น้อยกว่าการติดต่อเครือข่าย 3G มาก และเมื่อเปิด Wi-Fi ก็ควรจะปิด 3G ซะ สำหรับการตั้งค่าให้ Wi-Fi เปิดทำงานตลอดเวลา (always) แตะที่ Settings/Wireless networks/Wi-Fi Settings จากนั้นแตะที่ปุ่ม Menu ตามด้วย Advanced แตะที่ Wi-Fi Sleep policy แล้วเลือกออปชั่น Never และในกรณีที่คุณไม่ได้อยู่ใกล้บริเวณที่มีสัญญาณ Wi-Fi ก็ปิดมันซะ (widget ที่ homescreen) จะได้เหลือแบตฯไว้ใช้นานๆ
ยกเลิก Always-On Mobile Data ปกติ ที่ดีฟอลท์ตัวเลือก Always-On Mobile Data ของ Android Phone จะถูกตั้งให้เปิด (On) การทำงานไว้ ซึ่งตัวเลือกนี้จะเปิดโอกาสให้มือถือของคุณเชื่อมต่อข้อมูลได้ตลอดเวลา แต่ มันจำเป็นขนาดนั้นเลยหรือ? เพราะความจริงแม้ผู้ใช้จะยกเลิกการทำงานนี้ไปแล้ว คุณก็ยังสามารถพุช Gmail ได้ตลอดจน app หลายๆ ตัวก็ยังคงสามารถอัพเดตได้โดยอัตโนมัติ (ยกเว้น app บางตัวที่ต้องเชื่อมต่อเน็ตตลอดเวลา) การยกเลิกการทำงานของตัวเลือกนี้จึงเป็นไอเดียประหยัดแบตฯที่ไม่เลย แต่อย่างไรก็ตาม หากคุณมีแอพฯหลายตัวที่ต้องเชื่อมต่อเน็ตตามปกติ การยกเลิกตัวเลือก Always-On Mobile Data ก็อาจจะไม่ใช่ไอเดียที่ดีนัก เนื่องจากการเปิด/ปิดการเชื่อมต่อข้อมูลบ่อยๆ จะใช้ไฟจากแบตฯมากกว่าการเปิดตลอดเสียอีก สำหรับการยกเลิกตัวเลือก Always-On Mobile Data สามารถทำได้โดยแตะที่ Settings/Wireless & Networks/Mobile networks/Enable always-on mobile data
ขอ ขัดใจนิดหนึ่ง สำหรับ "15 วิธีประหยัดแบตฯ มือถือ และแท็บเล็ต Android" ตอนที่ 1 พอแค่นี้ก่อนนะครับ แล้วคอยติดตามตอนที่ 2 สำหรับเทคนิคฯ ที่เหลือ รับรองว่า ถูกใจคุณผู้อ่านแน่นอน :D
[เอ.อาร์.ไอ.พี, www.arip.co.th]
สนันสนุนการค้นหาข้อมูลโดย
www.ecom.here.ws
400 บาท รับซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่
ค่าแรง+ค่ารถ+ลงwinodws+โปรแกรมดูหนังฟังเพลง+office+antivirus
Tel. 083-792-5426
ปล.เฉพาะเขตพื้นที่ให้บริกร รามคำแหง บางกะปิ สุขาภิบาล 1 2 3
www.ecom.here.ws
400 บาท รับซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่
ค่าแรง+ค่ารถ+ลงwinodws+โปรแกรมดูหนังฟังเพลง+office+antivirus
Tel. 083-792-5426
ปล.เฉพาะเขตพื้นที่ให้บริกร รามคำแหง บางกะปิ สุขาภิบาล 1 2 3
0 - ซ่อมคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ บางกะปิ 083-792-5426:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น